แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร แนวทางการบริหารงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

พีรญา เชตุพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อการบริหารงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงานของบุคลากรวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร โดยผลที่ได้จะเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จำนวนทั้งสิ้น 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า


  1. บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 - 50 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาปริญญาตรี อายุงานต่ำกว่า 10 ปี และสังกัดงานฝ่ายบริหารทรัพยากร

  2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 40)

  3. การบริหารงาน บุคลากรมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 33)    

  4. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของบุคลากรวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทรอยู่ในระดับสูง (r = .63)

  5. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เช่น วิทยาลัยฯ ควรมีแผนงาน/ โครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป็นต้น

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วิชัย โกศัลวัฒน์. (2558). เอกสารประกอบการสอน 02-112-314 การประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
[2] ศูนย์ขับเคลื่อนสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564].
จาก http://www.lertchaimaster.com/doc/cover_su17052560.pdf และ
http://www.lertchaimaster.com/doc/OperationalGuidelines_suf17052560.pdf

[3] วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร. (2564). ประวัติความเป็นมาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564].
จาก http://www.kasetbangsai.ac.th/data_1015

[4] ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ. (2555). แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564]. จาก http://www.uthaipoly.ac.th/wpcontent/uploads/2018/02.pdf

[5] กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” ประจำปี 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564]. จาก https://drive.google.com/ file/d/1bINz31pNLn0Ckpgn5nCf_Uj7cWOA5BbY/view

[6] กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง รายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563. เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564]. จากhttp://www.inspec.moe.go.th/index.php/2018-08-06-08-59-19/277-scholarship2563

[7] รพีพรรณ คณาฤทธิ์. (2554). การบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศิกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา)
[8] สุดารัตน์ บุดดาวงค์. (2558). การบริหารงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าตะเกียบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพน์ การศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564]. จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57990340.pdf
[9] ขนิษฐา เผ่าม่วง. (2554). การบริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนศรีเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 งานนิพน์ การศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564. จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.
th/dcms/files//53950004/title.pdf
[10] ทองดี พิมพ์สาลี. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนายูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
[11] พิพัฒน์ ขวัญมงคล. (2556). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาอ่างทอง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม 2558. หน้า 33-40.



[12] มูลนิธิสถาบันวัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ม.ป.ป.). การประยุกต์ใช้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564]. จาก https://www.ldd.go.th/
Web_LDDEconomy/PDF/Title_3.pdf
[13] อรอนงค์ ดุมนิล และ เกริกไกร แก้วล้วน. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 9 (2):
ก.ค. - ธ.ค. 2557. หน้า 97-103.