แหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 The Hemp Fabric LearningRresources for Upper-Secondary Students at Pamaiutid 4 School

Main Article Content

ศราวุธ ปิจนันท์

บทคัดย่อ

บททความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชงสำหรับนักเรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จาก การศึกษาความต้องการและลักษณะแหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชง การออกแบบ สร้างและหาคุณภาพ โซนพื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ผ้าใยกัญชง และศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ้าใยกัญชงสำหรับนักเรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชง ด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน (Plan-P) การปฏิบัติตามแผน (Do-D) การตรวจสอบ (Check-C) และการแก้ไขปัญหาหรือการปรับใช้ (Act-A)


โดยองค์ประกอบของแหล่งเรียนรู้แบ่งเป็น 4 พื้นที่ประกอบด้วย พื้นที่การเรียนรู้ (Learning space) พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration space) พื้นที่พบปะ (Meeting space) พื้นที่แสดงออก (Performative space) จากศึกษาความต้องการและลักษณะแหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชงสำหรับนักเรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ภายใต้รูปแบบแหล่งเรียนรู้เพื่อป้องกันการสูญหายและส่งต่อความรู้เรื่องขั้นตอนและกระบวนการผลิตผ้าใยกัญชงให้กับนักเรียน ให้ได้ผ้าใยกัญชงและผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงที่มีคุณภาพและสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชนสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
[1] สริตา ปิ่นมณี. (2562). สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน):กัญชง (Hemp) ของแม่. สืบค้นจาก https://www.hrdi.or.th/SignificantPlant/Hemp.
[2] ศรัณย์ จันทร์แก้ว. (2554). การพัฒนาลวดลายพิมพ์จากศิลปะอาร์ตนูโวบนผ้าใยกัญชงเพื่อออกแบบชุดทำงานสตรี. วารสารคหเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556, หน้า 4-10.
[3] โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4. (2563). รายงานประจำปีของสถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ปีการศึกษา 2563
[4] พระมหากิตติศักดิ์ ไมตรีจิต. (2562) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจำแห่งโลกของวัดพระเชตุพน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสยาม.
[5] รุจโรจน์ แก้วอุไรและชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). พื้นนที่่การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัลในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2562, หน้า 366-378.
[6] ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2560). หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
[7] คำ วงค์เทพ. (2554). การศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.