การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Mathematics Learning Achievement on Decimal Using Flipped Classroom for Mathayomsuksa 1 Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทศนิยม ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทศนิยม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนจ่านกร้อง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทศนิยม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ และการทดสอบค่าที (t-test แบบ dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 90.25/81.60 ซึ่งสูงกว่าและเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจ่านกร้อง ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทศนิยม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). [ออนไลน์]. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พุทธศักราช 2551. [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : http://academic.obec.go.th/images/document/1580786328_d_1.pdf
[3] กรมควบคุมโรค. (2564). [ออนไลน์]. แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษา.[สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก :http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/120
[4] Jureerat Thomthong. (2014). [ออนไลน์]. ห้องเรียนกลับด้าน (The Flipped Classroom). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://prezi.com/o1 meklxbpyl2 / the- flippedclassroom/
[5] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). วิกฤติการศึกษา : ทางออกที่รอการแก้ไข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] Bergman G. and Sams S. (2012). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. USA: Colorado Publishing.
[7] พัชฎา บุตรยะถาวร. (2558). ผลการสอนของวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการเรียนออนไลน์กับวิธีการสอนแบบสืบเสาะ เรื่อง ระบบไหลเวียนโลหิต. วิทยานิพนธ์ วท.ม.(ชีววิทยาศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[8] ลัทธพล ด่านสกุล, ผดุงชัย ภู่พัฒน์, ศิริรัตน์เพ็ชร์ แสงศรีและบุญจันทร์ สีสันต์. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีการกำกับตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างการโปรแกรมและการกำกับตนเองของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์.การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ–เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29. 325-326.
[9] สุภาพร สุดบนิด, สมบัติ ท้ายเรือคำ และบังอร กุมพล. (2556). การเปรียบเทียบ ความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7 (ฉบับพิเศษ). 165.
[10] ลัลน์ลลิต เอี่ยมอำนวยสุข. (2555). การสร้างสื่อบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เรื่องการเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอลเบื้องต้น ที่ใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[11] นิชาภา บุรีกาญจน์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (2). 768-782.
[12] พิมพ์ประภา พาลพ่าย. (2557). การใช้สื่อสังคมตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.