ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ร่วมกับการเรียนแบบค้นพบเรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 The Outcomes of Discovery Learning Management Titled Properties of Exponents on Academic Achievement and Persistence for Matthayomsueksa 2 Students

Main Article Content

ณภัสนันท์ บัวบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้วิธีสอนแบบค้นพบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจ่านกร้อง (3) ศึกษาความคงทนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจ่านกร้อง เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 85


กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 38 คน ใน 1 ห้องเรียนของโรงเรียนจ่านกร้อง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test Dependent Samples


ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง มีประสิทธิภาพ E1/E2 ซึ่งสูงกว่าและเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่มีคะแนนความคงทนในการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85 คิดเป็นร้อยละ 94.74 มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85 คิดเป็นร้อยละ 5.26

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554 ). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2541 : 66). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
[4] ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
[6] Adams and Jack A. (1967). Human memory. New York: McGrew-Hill Book Company.