การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตลูกกลิ้งสายพานลำาเลียง กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำากัด Process Improvement of Roller Conveyor: A Case Study of ABC Company Ltd.

Main Article Content

สุชาดี ธำรงสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้างานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตลูกกลิ้งสายพานลำเลียง 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตลูกกลิ้งสายพานลำเลียง โดยใช้การระดมสมอง (Brain storming) ในการวิเคราะห์กระบวนการผลิตลูกกลิ้งสายพานลำเลียงที่นำมาปรับปรุง ได้แก่ ขั้นตอนการตัดท่อดำและขั้นตอนการกัดร่องลิ่มเพลา จากนั้นวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิก้างปลา และนำหลักการ ECRS มาปรับปรุงกระบวนการ ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา ลดระยะทาง ทำให้การทำงานในขั้นตอนการกัดร่องลิ่มเพลา และขั้นตอนการตัดท่อดำนั้นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยการออกแบบอุปกรณ์ช่วยในการทำงานอย่างอุปกรณ์ล็อคเพลา และรางเลื่อนสำหรับการเลื่อนท่อดำ หลังปรับปรุงพบว่า ขั้นตอนการตัดท่อดำ สามารถลดงานย่อยจาก 81 งาน เหลือ 51 งาน คิดเป็นร้อยละ 37.04 และลดเวลาจาก 4,780.11 วินาที เหลือ 4,193.11 วินาที คิดเป็นร้อยละ 12.28 นอกจากนี้ยังสามารถลดระยะทาง จาก 128.34 เมตร เหลือเพียง 5 เมตร ในส่วนของงานย่อยของการกัดร่องลิ่มเพลาลดลงจาก 32 งาน เหลือ 31 งาน และลดเวลาจาก 5,600.90 วินาที เหลือ 2,490.42 วินาที คิดเป็นร้อยละ 55.54 จากผลการวิจัยสามารถลดขั้นตอนการผลิตลูกกลิ้งสายพานลำเลียง ลงได้ ส่งผลให้เวลาในการผลิตลดลงทำให้สามารถผลิตลูกกลิ้งสายพานลำเลียงได้ในปริมาณสูงขึ้นจากเดิม ทันตามความต้องการของลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). Industrial Work Study การศึกษางานอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

วิจิตร ตัณฑสุทธิ์, วันชัย ริจิรวนิช จรูญ มหิทธาฟองกุล และ ชูเวช ชาญสง่าเวช. (2524). การศึกษาการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

R.Jolkkonen and N.Ghosheh. (2015). Rest Periods: Definitions and Dimensions. Retrieved from https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_protect/---protrav/---travail/documents/publication/wcms_491374.pdf

คณะทำงานการจัดทำคู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์. (2562). คู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ชยากร พริ้นติ้ง จำกัด.

กระทรวงแรงงาน. (2548). กฎกระทรวงกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/7/explanation_4.pdf. [สืบค้นวันที่ 23 ตุลาคม 2564].

สุชาดี ธำรงสุข และสมชาย เปรียงพรม. (2564). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนปรับปรุงกระบวนการผลิตท่อส่งน้ำมันรถแทรกเตอร์ กรณีศึกษา บริษัท เอ.บี.ซี จำกัด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 17, ฉบับที่ 3, กันยายน – ธันวาคม 2564 : 56-78.

จักรกฤษณ์ ฮั่นยะลา. (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตกางเกงเวสในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท นอร์ธเทิร์น แอทไทร์ จำกัด. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน 2557 : 14-25.

กฤษฎา วงศ์วรรณ์ และวิมลิน เหล่าศิริถาวร. (2560). การปรับปรุงผลิตภาพในการผลิตประตู-หน้าต่างด้วยเทคนิคการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 24, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม 2560 : 23-35.

มงคล กิตติญาณขจร, นภัสสร โพธิสิงห์ และ ธนวัตร พัดเพ็ง. (2562). การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต: กรณีศึกษากระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต

ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม 2562 : 71-89.