การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินชีวิตกับรูปแบบการตลาดกิจกรรม ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร The Study on Relationship between Lifestyle Patterns and Event Marketing Models of the Elderly’s Activity in Bangkok

Main Article Content

พีรญา เชตุพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการตลาดกิจกรรม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตกับรูปแบบการตลาดกิจกรรมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน พื้นที่เขตหลักสี่ แขวงทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า 


  1. ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  อายุ 60 – 70 ปี  การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี  สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท แหล่งรายได้หลักได้จากการทำงานของตนเอง/ เงินเก็บ และปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพ 

  2. รูปแบบการดำเนินชีวิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติมากที่สุด คือ กิจกรรมทางสังคม  รองลงมาคือกิจกรรมออกกำลังกาย  กิจกรรมงานอดิเรก  และกิจกรรมการท่องเที่ยว  ตามลำดับ

  3. รูปแบบการตลาดกิจกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการส่วนประสมทางการตลาดกิจกรรมมากที่สุด คือ ด้านบุคคล  รองลงมาคือ ด้านสถานที่ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกิจกรรม ตามลำดับ 

  4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับรูปแบบการตลาดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยรูปแบบการดำเนินชีวิต ด้านกิจกรรมทางสังคม มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการตลาดกิจกรรม ด้านกิจกรรม ด้านค่าใช้จ่าย ด้านสถานที่ ด้านกระบวนการ และด้านบุคคล รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรมออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการตลาดกิจกรร ด้านการส่งเสริมการตลาด  และรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการตลาดกิจกรรมด้านกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. บทความ. [ออนไลน์]. เราจะไปทางไหน เมื่อผู้สูงวัยล้นเมือง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561] จาก https://thaitgri.org/?p=329

สหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และองค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (HelpAge International)

C. A. Preston (2012). Event Marketing 2ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

เกรียงไกร กาญจนโภคิน. (2555). Event Marketing. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธรกิจ มีเดีย.

อดุลย์ จาตุรงคกุล (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ “มีงานทำ” กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

วัชรินทร์ เสมามอญ (2556). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ปริญญลักษมิ์ ตระกูลตั้งจิตร และสุมนรตี นิ่มเนติพันธ์ (2559). บทความวิจัย. สภาพและความต้องการกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559.