ผลการใช้การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดยาง (มีมานะวิทยา) The Results of Using 2D Animation Cartoon to Enhance Grade 8 Students’ Media Literacy Assessments in Wat Yang (Meemana Wittaya)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อด้านการประเมินสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อด้านการประเมินสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดยาง (มีมานะวิทยา) จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือ 1) การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการประเมินสื่อ
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ การทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการประเมินสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดยาง (มีมานะวิทยา) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย E1/E2 เท่ากับ 88.37/86.79 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this study were to 1) create 2D animation cartoon to enhance Grade 8 students’ media literacy assessment in Wat Yang (Mee Ma Na) School to be effective according to the criteria, and 2) use 2D animation cartoon to enhance Grade 8 students’ media literacy assessment in Wat Yang (Mee Ma Na) School by comparing learning achievement before and after learning. Purposive sampling was used to determine a sample of 14 secondary students in Grade 8 from Wat Yang (Meemana Wittaya) School. The data was collected using the following instruments: 1) 2D Animation, and 2) an assessing media literacy test. The data were collected through learning with 2D animation, pre-tests and post-tests and analysed by using percentages, averages, standard deviations, and t-test. The statistics used included percentage, mean, standard deviation, t-test.
The research's findings showed that 1) the efficiency of using 2D animation cartoon to enhance Grade 8 students’ media literacy assessments in Wat Yang (Mee Ma Na) School was higher than the benchmark of 80/80, percentages of the average E1/E2 score was 88.37/86.79, and 2) learning achievement was higher after learning with 2D Animation cartoon than before learning, at the statistically significant level of 0.05.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปริศนา เชี่ยวสุทธิ. (2561). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยยาลัยเกษตรศาสตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สันติภาพ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง สายเกิน. โครงงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน. คณะเทคโนโลยีสาสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สิริวรรณ ยะไชยศรี, สานิตย์ กายาผาด และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2558). รูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อการเรียนรู้ด้านการมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย. 123-130. 12-57. วารสารบัณฑิตศึกษา
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ดาวรถา วีระพันธ์ และณัฐรดี อนุพงค์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. 61-72. 3. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์)
ฌฌาน์ พิบูลย์ศิลป์. (2548). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเหล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.