หุ่นยนต์ หุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด Medical service Robots in COVID-19 Patient Centers

Main Article Content

ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19  2) เพื่อประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ที่มีต่อการใช้งานหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตร ผลการวิจัยมีดังนี้ หุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 มีประสิทธิภาพ คือ 1) ด้านการเคลื่อนที่ด้วยการใช้งานผ่านรีโมทไร้สายมีค่าเฉลี่ยของการตอบสนอง คือ 0.71 2) ด้านการใช้งานผ่านกล้องไอพีแคมบนแท็บเล็ต ระดับความคมชัดที่ดีที่สุดในระดับ 480P หน่วงเวลา 0.5 วินาที การสนทนาสัญญาณภาพ หน่วงเวลา 0.5 วินาที 3) การจำลองห้องผู้ป่วยรวมขนาด 10 x 10 เมตร จำนวนเตียงผู้ป่วย 5 เตียง เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจ เฉลี่ย 3.09 นาที และผู้ใช้งานหุ่นยนต์มีความพึงพอใจต่อการใช้งานหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์ผู้ป่วยโควิด 19 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70


Abstract


The objectives of this research were as follows: 1) to build a medical service robot in a COVID-19 patient center; 2) to find out the efficiency of medical service robots in COVID-19 patient centers 3) to study the satisfaction of users of a medical service robot in a COVID-19 patient center. The target group included 5 medical personnel of Phranakornsriayutthaya Hospital, the Covid-19 Patient Center 19, Muang District, Phranakornsriayutthaya Province. The research instruments were the assessment form and questionnaire. The statistic used were mean and standard deviation (S.D.). The research results showed that the medical service robots were effective: 1) Movement with wireless remote control had an average response of 0.71, and 2) IP-cam operation. on the tablet, the best resolution in 480P, delayed 0.5 seconds, and, the video chat at 0.5 seconds. 3) Simulation of a total patient room, size 10 x 10 meters, number of patient beds, 5 beds, the time required to perform the mission average 3.09 Minutes and robot users were satisfied with the use of medical service robots in the COVID-19 patient center at the highest level. with an average of 4.70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ติวมาสเตอร์. (2563). ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566]. จาก https://tuemaster.com/blog/ความก้าวหน้าทางเทคโนโล/

ดุรงค์ฤทธิ ตรีภาค และ พีรยศ ภมรศิลปธรรม. (2559). [ออนไลน์]. หุ่นยนต์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566]. จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ TBPS/article/view/ 71472

องค์การอนามัยโลกสาขาประเทศไทย. (2562). [ออนไลน์]. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565.]. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php.

กรมควบคุมโรค. (2558). [ออนไลน์]. [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565]. จาก http://odpc9.ddc.moph.go.th/DPC5/2.1.pdf.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.