การศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี A study of guidelines for administration of student care system in the student affairs for student quarrels problems under PathumThani Provincial Vocational Education.

Main Article Content

Prapai Kaewwilai

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่มีต่อการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน  และ 3) เสนอแนะแนวการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน  ของฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี   ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความความสอดคล้องและค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และ 0.93  กับผู้บริหารและครูผู้สอนของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 160 คน ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาในการป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทของผู้เรียนในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศและอายุต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน คือ สถานศึกษาควรแจ้งผล ติดตาม ช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการทะเลาะวิวาทส่งต่อไปยังผู้ปกครอง หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ 


ABSTRACT


The research aimed to study 1) The level of opinions of school administrators and teachers towards the administration of the student care and assistance system. 2) Compare personal factors with the level of opinions of school administrators and teachers regarding the administration of the student care and support system. 3) The suggesting guidelines for the administration of the student care and support system of the student affairs for student quarrel problems under PathumThani Provincial Vocational Education. The conducting research using a questionnaire with concordance and reliability values of 0.95 and 0.93 with administrators and teachers of vocational educational institutions in Pathum Thani Province. Obtained from stratified random sampling of 160 people using statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation. T-test (t-test), one-way ANOVA, pairwise mean difference test with LSD, and content analysis.


The results of the research were as follows: 1) The administration of the student affairs development department's student care and support system in preventing student quarrels in general and in each aspect is at a high level. The aspect with the highest average was knowing each student individually. 2) The school administrators and teachers of different genders and ages There was a significant difference in opinions on the administration of the overall student support system at the .05 level. Different levels of education and work experience had no different opinions. 3) The guidelines for the management of the learner support system are that educational institutions should report the results, follow up, and help students who have conflict problems and forward them to their parents. or other related agencies regularly.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). [ออนไลน์]. เร่งผลิต พัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน. [สืบค้นเมื่อวันที่10ตุลาคม2565] จากhttps://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/95923.

ไทยโพสต์. (2562). [ออนไลน์]. รมว.ศึกษาตั้งเป้าปรับสัดส่วนคนเรียนอาชีวะเป็น 60% ส่วนสายสามัญลดเหลือ 40%. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม2565] จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/12/current/9689.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2555). [ออนไลน์].การจัดการอาชีวศึกษา มุมมองและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565] จาก file_5675a419453d96797844574c2fc53d59.pdf (onesqa.or.th).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565].จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ไทยโพสต์. (2563). [ออนไลน์]. “ณรงค์”ลั่นเดินหน้าขับเคลื่อนอาชีวะ แบบธรรมดาไม่ได้เพราะถูกวางตัวเป็นฟันเฟือง เศรษกิจชาติ. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565] จาก http://www.thaipost.net/main/detail/74937

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). [ออนไลน์]. แก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565].จาก https://www.moe.go.th/แก้ไขปัญหาการทะเลาะวิว/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). [ออนไลน์]. แนวทางแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาการประชุมแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ ครั้งที่ 1/2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565].จาก https://www.moe.go.th/moe/th.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2559). [ออนไลน์]. มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565]. จาก

www.vec.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/คำสั่ง-คสช-30.2559.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). [ออนไลน์]. สอศ.ประชุมเพิ่มมาตรการป้องกัน แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.vec.go.th/ข่าว/บริหารจัดการข่าว/รายละเอียดข่าว/ tabid/103/ArticleId/15849/language/en-US/15849.aspx.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). [ออนไลน์]. สถานการณ์การกระทำผิดของ“เด็กและเยาวชน” จากการเฝ้าระวังข่าวสารโดย ศปก.พม. ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2563.[สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565] จาก https://www.facebook.com/msoitety.phatthalung/photos/.

Krejcie, R.V., and Morgan D.W. “Determining Sample Size for Research Activities.” Psycholological measurement (1970) : 607-610.

Likert, Rensis A. (1961). “New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill Book Company Inc.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

เสถียร อุตวัต. (2560). [ออนไลน์]. ปัญหาการทะเลาะวิวาทนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2565] จาก https://www.gotoknow.org/ posts/566591.

อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์ และคณะ. (2562). มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล : วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 22 ฉบับที่ 2. 348-358.

พระภิญโญ ตสฺสนาโม (มีสมบัติ) (2560). กระบวนการปลูกฝังการยั้งคิดเพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวพุทธ. ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สมพร ชูทอง. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชินเจตา ศักดิ์เสมอพรหม. (2548). การมีส่วนร่วมของอาจารย์และนักศึกษาในการป้องกันการใช้ความรุนแรงของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.มหาวิทยาลัยบูรพา.