The ผลการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี The Results of the Implementation of the Royal Decree Policy on the Education of Colleges in Pathumthani Provincial Vocational Education

Main Article Content

Parichat Boonyaakrachart

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดย การสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารและครูของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา  ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA และ LSD 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานและด้านการปรับปรุงผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และ 2) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน  ประสบการณ์การฝึกอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ยกเว้นด้านการวางแผนไม่แตกต่างกัน  ส่วนความคิดเห็นจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01


 


คำสำคัญ : พระบรมราโชบายด้านการศึกษา สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี


ABSTRACT


The purposes of this research are to 1) study the results of the implementation of the Royal Decree Policy on Education and 2) compare the opinions of administrators and teachers according to the Royal Decree Policy on Education of Colleges in Pathumthani Provincial Vocational Education, carried out by asking for opinions from administrators and teachers of Colleges in Pathumthani Provincial Vocational Education Using a stratified random sampling method according to the size of the educational institution with a questionnaire that has been evaluated for consistency by experts. And the reliability test was 0.97. Statistics used included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and LSD.


The results of the research found that 1) The overall performance of the educational institution administrators according to the Royal Decree Policy on Education was at a high level. The side with the highest average is the planning aspect Followed by the inspection of operational results. Operational aspects and performance improvement aspects were at a high level, respectively, and 2) opinions of administrators and teachers were classified by gender, educational level, job position, and training experience regarding operations according to the Royal Decree Policy on Education. Overall each aspect was significantly different at the .05 and .01 levels, except for the planning aspect which was not different. As for opinions classified by work experience, overall and in each area, they were significantly different at the .05 and .01 levels.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2564). [ออนไลน์]. ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วันที่ 23 สิงหาคม 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565]. จาก https://citly.me/gUc04.

เกษม วัฒนชัย. (2560). พระบรมราโชบายด้านการศึกษา. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565]. จาก https://www.youtube.com/watch?v=jO-9YJqKUEs.

ภูวดล ศิริพงษ์. (2564). พระบรมราโชบายด้านการศึกษากับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารทหารพัฒนา.ปีที่ 45 ฉบับที่ 1. 1-10.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). จุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายธีรเกียรติเจริญเศรษฐศิลป์) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://citly.me/S7Awk (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ธันวาคม 2565).

หน่วยศึกษานิเทศก์ (2562). แนวทางการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2.(1,500 เล่ม). กรุงเทพมหานคร. เอส. บี. เค การพิมพ์.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2562). [ออนไลน์]. 10 ปรากฏการณ์ คุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทย. [สืบค้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565]. จาก https://shorturl.at/efpFR.

ฐาปนัส เรืองรัตนพงศ์และศศิภัทรา ศิริวาโท. (2564). [ออนไลน์]. ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ : กรณีศีึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565]. จาก https://citly.me/2gPwa.

วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี. (2564). รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ คณะผู้บริหาร หัวหน้าสาขาวิชาของวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ปี พ.ศ. 2564. ปทุมธานี : วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 81-90.

Mercader, Victor. (2006) . [online]. Study of the ethical values of college students. [accessed 15 January 2023]. Available from https://digitalcommons.usf.edu/etd/2629.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York : Minnesota University.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ (2561). [ออนไลน์]. วงจรการควบคุมคุณภาพหรือ วงจรเด็มมิ่ง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566]. จาก https://citly.me/YFO37.

พรทิพย์ ประทีป ณ ถลาง. [2564). [ออนไลน์]. การประเมินโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองดี มีอาชีพ มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและมีคุณธรรม ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565]. จาก https://citly.me/iWR1X.

วินัย หมื่นรักษ์และนพรัตน์ ชัยเรือง. (2557). คุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับ 2. 53-61.

ศิริ ถีอาสนา และเฉลิมเกียรติ ถีอาสนา. (2565). ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามนโยบายแห่งรัฐด้านการจัดการอาชีวศึกษา. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 21 มิถุนายน 2565. 1-9.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สมพร ปานดำ. (2563). การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการ อาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 . 382-397.

ดำรงค์ สุดวิลัย. (2564). การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10. ปทุมธานี. วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี.

อุกฤษฎ์ ใบมาก. (2564). การประเมินโครงการเสริมสร้างวินัยนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์. นครสวรรค์. วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์.

ปิยะดา วงษ์ปัญญา (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อประสิทธิผลทางการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษบา จี้เพชร. (2557). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษา ในโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี หวังเจริญ. [2558). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วนิดา เขจรรักษ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้ทักษะบูรณาการภาษาอังกฤษ กับวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 12. (2564). โครงการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12. สำนักงานศึกษาธิการภาค 12. สำนักงานปลัดประทรวงศึกษาธิการ.

กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล. (2561). รายงานการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้นพิเศษเฉพาะของผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2. กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.