ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะทางจริยธรรมของนักศึกษาสื่อสารมวลชน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งประเทศไทย Factors Influencing Ethical Characteristics of Mass Communication Students According to the Thai Qualifications Framework
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะทางจริยธรรมนักศึกษาสื่อสารมวลชนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 800 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์ทางสังคม ด้านจิตรู้จริยธรรม ด้านทัศนคติ คุณธรรม และค่านิยม ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านจิตสร้างสรรค์ ด้านมุ่งอนาคตและควบคุมตนเอง ด้านจิตเชี่ยวชาญ ด้านจิตรู้สังเคราะห์ ด้านความเชื่ออำนาจในตน ด้านสติปัญญา ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านพฤติกรรมการทำงาน ด้านพฤติกรรมการขยันเรียนรู้ ด้านจิตรู้เคารพ ด้านพฤติกรรมพัฒนาสังคม และด้านการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะทางจริยธรรมนักศึกษาสื่อสารมวลชนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The objective of this research was to study the factors effect to ethical characteristics of mass communication students according to the Thai Qualifications Framework. This research was quantitative research by using questionnaire as a tool to collect data from 800 samples who were about of journalism. Data was analyzed by Stepwise Multiple Regression Analysis. The results showed as follows: the factors effected to ethical characteristics of mass communication students according to the Thai Qualifications Framework with a statistical significance at .01 including social experience, ethical mind, moral, attitude and values, health behavior, creative mind, focus on the future and self-control, disciplined mind, synthesizing mind, power of belief, intelligence, motivation achievement, working behavior, studious behavior, respectful mind, social development behavior, and nurture of family.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุคนธ์ธา เส็งเจริญ. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกสาธารณะในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, ภาควิชาการวัดและการวิจัยทางการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Partnership for 21st Century Skills. (2011). Framework for 21st Century Learning. Retrieved from http://www.p21.org
ประเสริฐ ผลิตการพิมพ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.
สุทัศน์พงษ์กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Littlejohn, S. W. (1999). Theory of communication. 6th ed. Belmont CA: wadsworth/Thompson Learning.
ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2561). สื่อมวลชนกบจรรยาบรรณในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media). เข้าถึงได้จาก http://www.presscouncil.or.th/archives/4280
Salcito, K., et al. (2013). Assessing Human Rights Impacts in Corporate Development Projects. Environmental Impact Assessment Review, 42, 39-50.
อิสรานิวส์. (2558). จริยธรรมสื่อ: สอนคน สอนใคร สอนอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org /thaireform-doc-mass-comm/38733-ethics-for-mass-media.html.
ตรัยรัตน์ ปลิ้มปิติชัยกุล และคณะ. (2564). หลักกฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชนในการนำเสนอข่าวบันเทิงในยุคดิจิทัล. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 1(6) พฤศจิกายน-ธันวาคม, 31-46.
สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ. (2564). ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://www.presscouncil.or.th/rule/6126
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคลากร. เอกสารวิชาการคณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Gardner, H. (2007). Five minds for the future. Boston: Harvard Business School Press.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Lasswell, H. (1948). The Structure and function of communication in society. In L. Bryson (Ed.), The communication of ideas (pp.37-40). New York: Harper.
กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร (Introduction to Communication). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
พระครูศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว) และสุชน ประวัติดี. (2562). จริยธรรม: ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, 131-145.
ตฏิลา จำปาวัลย์. (2562). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา. 4(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, 60-72.
เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี ถุงแก้ว และฉันทนา กล่อมจิตร. (2554). ปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตลักษณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1), 80-88.
ฉันทนา ปาปัดถา และอรรถการ สัตยนพาณิชย์. (2559). จิต 5 ลักษระของนักสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศษสตร์. 36(3), 168-184.
สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ. (2565). รายงานสถานการณ์จริยธรรมสื่อ ’65: ปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพ. สืบค้นจาก https://www.presscouncil.or.th/8482