การบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง Administraing Cooperation Network of Education Institutions and Establishments in Vocational Education Management of Industrial and Community Education College in Lampang Province

Main Article Content

ธนากร อินตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง 2) ศึกษาสภาพการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง 3) ศึกษาแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานความร่วมมือ หัวหน้างานทวิศึกษา และหัวหน้าแผนกวิชา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) แบบสอบถามสภาพการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้างานความร่วมมือ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หัวหน้าแผนกวิชา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง  จำนวน 41 คน 3) ประเด็นการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา การบริหารความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการจำนวน 7 คน
4) แบบสอบถามเพื่อยืนยันความเหมาะสมของแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปางประกอบด้วย (1) การกำหนดสมาชิกเครือข่าย  (2) การกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (4) การสื่อสาร ประสานงานเครือข่าย และ (5) การติดตามประเมินผล และปรับปรุง 2) สภาพการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย (1) ด้านการวางแผน 3 แนวทาง (2) ด้านการจัดองค์การ 3 แนวทาง (3) ด้านการนำองค์การ 3 แนวทาง (3) ด้านการควบคุม จำนวน 3 แนวทาง


Abstract


This research article aimed to: 1) Study the components of administrating the cooperation network of education institutions and enterprises in vocational management of the Industrial and Community Education College in Lampang province 2) Investigate the current status of administrating the cooperation network 3) Explore the guidelines for administrating the cooperation network. The study population includes directors, deputy directors, Division, and department heads affiliated with vocational colleges in Lampang province. The instruments were: 1) semi-structured interviews using a semi-structured format with five qualified interviewees; 2) questionnaires to assess the current state of administrating the cooperation network of education institutions and enterprises in vocational management of the Industrial and Community Education College in Lampang province. 3) group discussions to explore relevant topics. 4) questionnaires to confirm the appropriateness. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and conducting content analysis.


The research findings are as follows: 1) The components of administrating the cooperation network including (1) the assignation of network members. 2) establishment of joint objectives (3) the participation in processing of the networks. (4) the communication and interaction. (5) Monitoring, evaluation, and continuous improvement 2) The overall state of network management is assessed to be at a high level. 3) The guidelines for administrating the cooperation network, consisting of 3 guidelines of planning, 3 guidelines of organizing, 3 guidelines of leading, 3 guidelines of controlling.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ.

ธนุ วงษ์จินดา. (2565). ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 3-7.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

ปรีดี เกตุทอง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา กับสถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2559). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทวีวัฒน์ รื่นรวย. (2565). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ปีที่ 6 ฉบับที่ 11. 122-136.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาลิกา อัครนิตย์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จีระศักดิ์ สร้อยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุดา มงคลสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นันทิชา มารแพ้. (2561). การนำเสนอรูปแบบการวางแผนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จิรภัทร มหาวงค์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 18 ฉบับที่ 4. 114-127.

คติพงษ์ อ่อนไชย. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสาร Journal of Modern Learning Development. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 65-76.

สุเมธ รินทลึก, วิชิต แสงสว่าง (2564). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่10 ฉบับที่ 3. 39-53.

วรวุฒิ ศรีอุทิศ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษา ของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันทิตา โพธิสาร. (2563). การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1. 127-138.

ธานินทร์ ศรีชมภู. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 16 ฉบับที่ 3. 120-131.