ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี Factors Affecting the Selection of Thai Dessert Products in the Sam Chuk Hundred Years Market Suphanburi
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติ ปัจจัยทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อขนมไทย (2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจซื้อขนมไทย และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 74 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัพบว่า (1) ทัศนคติต่อขนมไทย อยู่ในระดับมาก (
=4.40) ปัจจัยทางการตลาดของขนมไทย อยู่ในระดับมาก (
=4.27) และการตัดสินใจซื้อขนมไทย อยู่ในระดับมาก (
=4.21) (2) ลักษณะประชากร ได้แก่ อายุ รายได้ และการศึกษา ต่างกันมีการตัดสินใจซื้อขนมไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ส่วนเพศต่างกันมีการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรีไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สมศักดิ์ อมรชัยนนท์ และเสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อขนมไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 16-34.
สินชัย เจนช่างกล. (2558). แผนธุรกิจร้านขนมหวาน. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันอาหาร. (2565). ตลาดขนมหวานจากน้ำตาล ปี 2564. สืบค้นจาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=366
ปฐมพงค์ กุกแก้ว และเอกลักษณ์ สงวนแสง. (2563). การวิเคราะห์ศักยภาพของตลาดสามชุกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 15 (2) กรกฎาคม-ธันวาคมหน้า 68-76.
ภูริชา กรพุฒินันท์. [2558]. อิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว. (2563). การวิเคราะห์ศักยภาพของตลาดสามชุกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 15(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 68-76.
โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล และคณะ. (2556). ตลาดย้อนยุคสามชุก: การเมืองเรื่องพื้นที่และธุรกิจ แห่งการถวิลหาอดีต. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2. 1-16.
ศศิพิมพ์มาศ หงส์สมบัติ และพิทยา บุญคงเสน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวในชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 11(1) มกราคม-มิถุนายน, หน้า 86-105.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.
ณภัคอร สงวนต้ง. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ต่อการบริโภคขนมไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวกานต์ หงษ์เหลี่ยม. (2564). การตัดสินใจซื้อขนมเพื่อสุขภาพในยุค New Normal. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat18/6314060027.pdf
บุษยพงศ์ มุสิกไชย. (2552). ทัศนคติที่มีผลต่อการบริโภคขนมไทยของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ผกามาศ ประพันธ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองสะเดาอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เจณิภา คงอิ่ม. (2559). การบริโภคขนมไทยของเยาวชนในเขตจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ.
ณัฐพร โชติธินิพัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อขนมหวานร้านอาฟเตอร์ยูในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”, หน้า 251-259.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมลากรอบ. กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา.
พิมพินิจ ผิวผ่อง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคขนมหวานในอำเภอหัวหิน. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรีพร ณ บางช้าง. (2556). ความคาดหวัง การรับรู้จริง ทัศนคติภาพลักษณ์ความภักดีและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคในตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 8 (1) มกราคม-มิถุนายน, หน้า 20-30.
สุชญา อาภาภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Donranut Pochai. (2019). Marketing Factors That Affect the Decision to Consume Premium Fruit: Case Study the Consumer in Banpong District, Ratchaburi Province. Master of Business Administration. Silpakorn University.