การรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร Perception Affecting Healthy Food Consumption Behavior Among Teenagers in Bangkok
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพของวัยรุ่น (2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร และ (4) ศึกษาการรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวณด้วยโปรแกรม G*power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้เรื่องอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (=4.17) (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (=3.98) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (3) เพศของวัยรุ่นต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนอายุ การศึกษา อาชีพ และรายรับต่อวัน ต่างกันพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และ (4) การรับรู้ส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุลัดดา พงษ์อุทธา และวาทินี คุณเผือก. (2558). อาหารและโภชนาการในประเทศไทย: เราอยู่ตรง
จุดใด ในปัจจุบัน.(ออนไลน์). นนทบุรี: แผนงาน วิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริม สุขภาพมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ ระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภค อาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (ออนไลน์). วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1), 109-116.
พิมพ์ชนก เขียวคราม. (2562).พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.การวิจัยรายบุคคล ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศิลปากร
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2543). จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สามลดา
ชัชวาลย์ หลิวเจริญ และณิชชา โชคพิทักษ์กุล. (2559). แนวทางการสื่อสารสุขภาพด้วยการส่งเสริม การบริโภคอาหารคลีน: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและความตั้งใจซื้อ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 15(2), 17-28
กมล เลิศรัตน์ และคณะ. (2561). เส้นทางสู่การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ของสังคมไทยอย่างยังยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
Thanachai Komsamarn. (2022). อาหารเพื่อสุขภาพ กินอย่างไรให้ได้สารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ.(ออนไลน์). จาก: https://library.wu.ac.th/km/
ลลิตา ศิริภักดี. (2559). องค์ประกอบของพาณิชย์สังคมที่มีผลต่อการตั้งใจซื้ออาหารสุขภาพผ่านระบบ โซเชียลเน็ตเวิร์ค: กรณีศึกษา เขตอำเภอเมืองจังหวัดระยอง.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนนิกานต์ คงชื่นสิน. (2560). องค์ประกอบของการสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภค อาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อารียา ยืนนาน และธีระวัฒน์จันทึก. (2558). พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของผู้สูงอายุ ในเขต ดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
กันต์วิรุฬห์ พลูปราชญ์. (2563). พฤติกรรมและความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 4(2), หน้า 316.
พิมพ์ใจ สิงคราช. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Dabholkar, P. A. (2015, January). How to improve perceived service quality by increasing customer participation. In Proceedings of the 1990 Academy of Marketing Science (AMS) Annual Conference. (pp. 483-487). Switzerland
Van der Bilt, A. (2015). Human oral function: A review. Brazilian Journal of Oral Sciences, 1, 7-18.