การผลิตสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี The Media Production of Motion Graphics: Royal Barges

Main Article Content

ฉันทนา ปาปัดถา
เกษมพันธุ์ ศรีเฮืองโคตร
ทัตติ สวนศิลป์พงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี และศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างบุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับเรือพระราชพิธี จำนวน 100 คน ที่ให้ข้อมูลด้วยความสมัครใจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) โมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี ประกอบด้วย 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เรือพระราชพิธี ตอนประวัติความเป็นมา ตอนที่ 2 เรือพระราชพิธี ตอนเรือพระที่นั่ง ตอนที่ 3 เรือพระราชพิธี ตอนเรือรูปสัตว์ และตอนที่ 4 เรือพระราชพิธี ตอนเรือเหล่าแสนยากร และ 2) ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี ภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.70, S.D. 0.51) โดยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.71, S.D. 0.55) ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.69, S.D. 0.85) และด้านการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.69, S.D. 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกานต์เกาศล และสุวิชัย โกศัย. (2560). เรือ: ภูมิปัญญากับวิถีชีวิตพื้นบ้านและบทบาทในสังคมไทยภาคกลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต. 13(1) กรกฎาคม-ธันวาคม, 69-82.

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2559). เรือของชาวสยาม. สืบค้นจาก https://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/research-and-study/1412-2016-10-11-04-08-12

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2564). คู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านอุทกภัยในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี. กรุงเทพมหานคร: บางกอกอินเฮาส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

Gonzalez, S., Metzler, J.N., and Newton, M. (2011). The Influence of a Simulated ‘Pep Talk’ on Athlete Inspiration, Situational Motivation, and Emotion. International Journal of Sports Science & Coaching. 6(3), 445-460

ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2561). การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์ผืนป่า ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์. ในพระบรมราชูปถัมภ์.