การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน Development of Inventor Competencies and Learning Outcomes in Basic Power Electronics Using Research-Based Instruction

Main Article Content

ธนาคาร คุ้มภัย
ชาคริต ชาญณรงค์
แสงอาทิตย์ เจ้งวัฒนพงศ์
พงศ์เทพ สุวรรณโณ
จักรกฤษณ์ ขวัญทองอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น (รหัสวิชา 20104 - 2103) โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ฯ ทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น (รหัสวิชา 20104 - 2103) จำนวน 58 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สามารถแบ่งหน่วยการเรียนรู้ออกเป็น 10 หน่วยการเรียนรู้ และมีกระบวนการวิจัยเป็นฐาน ประกอบไปด้วย 10 ขั้นตอนย่อยในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนผลการทดสอบก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.50 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 และมีคะแนนผลการทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.50 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 และ ผลการประเมินสมรรถนะด้านนวัตกร พบว่าคะแนนประเมินก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 และมีคะแนนประเมินหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.16 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 แปลความหมายได้ว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
คุ้มภัย ธ., ชาญณรงค์ ช., เจ้งวัฒนพงศ์ แ., สุวรรณโณ พ., & ขวัญทองอ่อน จ. (2024). การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน: Development of Inventor Competencies and Learning Outcomes in Basic Power Electronics Using Research-Based Instruction. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(1), 87–98. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269281
บท
บทความวิจัย

References

สุวัทนา สงวนรัตน์. (2564). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), 645-659.

ธนาคาร คุ้มภัย และคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(1), 33-41.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552). หลักคิด: การจัดการหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิพล. (2565). ระบบอัตโนมัติ กับการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมการผลิต จะสร้างอนาคตได้อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก www.mreport.co.th.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2545). การสอนแบบเน้นวิจัยโดยใช้สัญญาแห่งการเรียนรู้. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขัติยา ปิยะรังษี และคณะ. (2565). คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 438–458.

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2547). การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บ.ก.), การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน: ประมวลบทความ (พิมพ์ครั้งที่ 3, น. 21-37). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรจิตต์ เดชอมรชัย และคณะ. (2555). ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาฝรั่งเศสระดับกลาง 1 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Journal of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University, 8(2), 49–64.

นภสร ยลสุริยัน. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATION เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 357–372.

จุฑาทิพย์ อิทธิชินพัฒน์ และคณะ. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(3), 142–153.