การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย The Development of Motion Graphic Media to Promote Awareness of Portfolio Creation for High School Students

Main Article Content

พรปภัสสร ปริญชาญกล
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์
กิติญาณี ศรีรักษา
สุจิตรา อินทรศร
กมลชนก เดียงสระน้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแจงร้อนวิทยาที่เข้าร่วมกิจกรรม ECT ROADSHOW ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เคยรับชมสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาได้สื่อโมชันกราฟิกความยาว 6.47 นาที เรื่อง การทำแฟ้มสะสมผลงาน ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (equation = 4.33, S.D. = 0.58) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (equation = 4.22, S.D. = 0.54)  ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (equation = 4.43, S.D. = 0.78) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (equation = 4.34, S.D. = 0.71) ดังนั้น การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

How to Cite
ปริญชาญกล พ., ธรรมวิภัชน์ ก., ศรีรักษา ก., อินทรศร ส., & เดียงสระน้อย ก. (2024). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: The Development of Motion Graphic Media to Promote Awareness of Portfolio Creation for High School Students. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(1), 146–162. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269958
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พรปภัสสร ปริญชาญกล, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กิติญาณี ศรีรักษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สุจิตรา อินทรศร, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กมลชนก เดียงสระน้อย, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

References

พิมพ์ปวีณ สุนทรธรรมรัต. (2564). Motion Graphic เมื่อภาพเคลื่อนไหวไปในจินตนาการ. [Online]. Available : https://www.faa.chula.ac.th/SelfLearningFaamai/detailform/124 . [22 ตุลาคม 2566].

นิรมล ศิริหล้า. (2555). การรับรู้ (Perception). [Online]. Available : https://www.gotoknow.org/posts/360941 [23 ตุลาคม 2566].

Chula Tutor. (2566). Portfolio คืออะไร. [Online]. Available : https://www.chulatutor.com/blog/ portfolio-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0% B8%A3/. [23 ตุลาคม 2566].

พีระพงษ์ เครื่องสนุก. (2558). แฟ้มสะสมผลงาน. [Online]. Available : https://www.gotoknow.org/posts/ 587307. [25 ตุลาคม 2566].

ศุภกิตติ์ บุญเตี้ย. (2566) หัวหน้ารายวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนแจงร้อนวิทยา. ผู้ให้สัมภาษณ์ [28 สิงหาคม 2566].

Chaengron Wittaya School. จำนวนประชากรนักเรียน [Online]. Available : https://sites.google.com/ chaengron.ac.th/chaengronwittayaschool/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81. [28 สิงหาคม 2566]

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). มาตรวัดลิเคอร์ท. [Online]. Available : https://ejournals.swu.ac.th/ index.php/ENEDU/article/view/5830/5467. [28 ธันวาคม 2566]

จำนง สันตจิต. (2556). ADDIE MODEL. [Online]. Available : https://www.gotoknow.org/posts/ 520517%20. [30 สิงหาคม 2566].

สมโชค เนียนไธสง และคณะ. (2561). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคอ้วนในเด็ก ช่วงอายุ 6 - 12 ปี กรณศึกษา โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1, หน้า 187 – 201.

ยุพาวดี ฐานขันแก้ว. (2557). การสร้างสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง จริยธรรมในการใช้โซเชียลมีเดีย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ หน้า 9-10.

นภัสสร กัลปนาท. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง เกณฑ์การเสนอผลงานของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพระดับชำนาญการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. หน้า 51 - 58.

พรปภัสสร ปริญชาญกล และ กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2564). ผลการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯขาดแคลนผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 หน้า 58 - 59.

กวิสรา วรภัทรขจรกุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย

โพธารามที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 106 - 110.