การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาการคำนวณ เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดยาง(มีมานะวิทยา) ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน จำนวน 3 แผน 2) แบบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา แบบปรนัย 4 ตัวเลือกและแบบอัตนัย เติมคำตอบ จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า T-test ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Siripop Somapa. (6 กรกฎาคม 2564). [ออนไลน์]. 21st Century Skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. [ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567]. จาก https://smart-icamp.com/2021/07/06/21st-century-skills-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21/
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วิชญาพร บุญหนุน. (2566). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบผ่านกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ Unplugged Coding สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง 6 โรงเรียนวัดยาง(มีมานะวิทยา). การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ “วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”, 14(1), E1-E17.
นพวรรณ งามรุ่งโรจน์. (19 สิงหาคม 2565). จิตวิทยาเบื้องต้นเกี่ยวกับเด็ก : พัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2540). การสอนระดับประถมศึกษา 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุศร หงส์ขุนทด. (6 เมษายน 2566). [ออนไลน์]. แนวทางการออกแบบการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based Teaching). [ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567]. จาก http://krukob.com/web/news-81/
คณะกรรมการจัดการความรู้ โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. (29 กรกฎาคม 2563). KM คู่มือการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการวิจัย โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2562.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
นลินี ดวงเนตร และ ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Information and Learning, 33(1), 11-23.
รัตน์ภรณ์ พรชาวนา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาการคำนวณเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดยาง (มีมานะวิทยา). วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 6(1), 131-149.
พัทธ์ธีรา โสมบันดิด สายสุนีย์ จับโจร และเบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกมมิฟิเคชันในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะเพื่อการแก้ปัญหา สำหรับรายวิชาวิทยาการคำนวณ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), 143-155.
พุฒนารท แก้วสงค์. (2565). พัฒนาสื่อ Unplugged Coding ในการเรียนการสอนเรื่องแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะและออกแบบวิธีการแก้ปัญหารายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
ฉันทิดา สนิทนราทร. (20 กุมภาพันธ์ 2560). [ออนไลน์]. สรุปจิตวิทยาการดูแลเด็กวัย 0-12 ปี. [ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567]. จากhttps://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/56125/-blo-parinf-par-parpres-parsch-