แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ Guidelines for Marketing Communication to Promote Community Tourism in Kok Mon Sub-district, Nam Nao District, Phetchabun Province

Main Article Content

เมทิกา พ่วงแสง
ฉันทนา ปาปัดถา
ปาริชาติ ช้วนรักธรรม
ชัยวุฒิ ชัยฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) ศึกษาแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวและร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารชุมชน ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า


  • พฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพักผ่อน โดยลักษณะการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เดินทางเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะ ซึ่งการเดินทางท่องเที่ยวจะเดินทางโดยซื้อโปรแกรมกิจกรรมของการท่องเที่ยว และเลือกเดินทางในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์หรือวันหยุด มีระยะเวลาในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้เวลา 1-2 วัน

สำหรับแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ควรมีแนวทางการดําเนินงานโดยการสร้างความเข้าใจร่วมกันไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการภาคเอกชน ชุมชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ต้องให้ความสำคัญกับสื่อต่าง ๆ เช่นทำการตลาดผ่านจากบุคคลซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างความน่าสนใจและส่งผลให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยว ใช้ตัวบุคคลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนของพื้นที่ตำบลโคกมนและเชื่อมโยงพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเทศกาลงานประเพณีประจำปี การทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และกลยุทธ์หลักคือการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงได้เร็วและข้าถึงในยุคปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
พ่วงแสง เ., ปาปัดถา ฉ. ., ช้วนรักธรรม ป., & ชัยฤกษ์ ช. . (2024). แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์: Guidelines for Marketing Communication to Promote Community Tourism in Kok Mon Sub-district, Nam Nao District, Phetchabun Province. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(2), 286–298. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/272539
บท
บทความวิจัย

References

เมทิกา พ่วงแสง และ อรจิรา ธรรมไชยางกูร. (2566). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ สำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์. (2564). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวอับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. อ่างทอง: วรศิลป์การพิมพ์ 89.

ดารา และธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด.กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

Schultz, DonE. (1994). Integrated Marketing Communication, Lincolnwood: NTC Business Books.

ณัฏฐ์วิกร หรรษาพันธุ์ และ จำเริญ คังคะศรี. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. 217-234.

ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ และ เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2562). ศักยภาพชุมชนด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวแก่แหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง โดยการประเมินศักยภาพชุมชนด้านการส่งเสริมการตลาด. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 254-264.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดแบบบูรณาการเพื่อการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เชิงนิเวศโดยชุมชน กรณีศึกษา: บ้านแพมบก ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.