การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle The Development of Video Content for Public Relations of Body Donation to King Chulalongkorn Memorial Hospital Using Simon Sinek’s Golden Circle Storytelling Technique
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle 2) เพื่อประเมินคุณภาพวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากจากรายชื่อนักศึกษาผู้ที่เคยรับชมวิดีโอคอนเทนต์และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle จำนวน 1 เรื่อง ความยาว 4.50 นาที ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.58, S.D. = 0.50) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (
= 4.25, S.D. = 0.65) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.81, S.D. = 0.41) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.64, S.D. = 0.52) ดังนั้น วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
Article Details
References
ประภาศรี สวัสดิ์อำไพรักษ์. (2567). [ออนไลน์]. ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์. https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit8/SUBM1/U811-1.htm.
สำนักประชาสัมพันธ์. (2567). [ออนไลน์]. การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร. https://www.senate.go.th/assets/portals/49/news/73/2_km8-60.pdf.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2536). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก.
ไทยแลนด์วิดีโอโปรดักชันส์. (2567). [ออนไลน์]. วิดีโอคอนเทนต์คืออะไรและมีขั้นตอนการทำวิดีโอคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง. https://thailandvideoproductions.com/video-content-for-social-media.
ฟ้า ชวันธวัช. (2567). [ออนไลน์]. 7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ. https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling.
จำนง สันตจิต. (2567). [ออนไลน์]. ADDIE MODEL. https://www.gotoknow.org/posts/520517#google_vignette.
สำนักงานทะเบียนนักศึกษา มจธ.. (2567). [ออนไลน์]. จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน. https://regis.kmutt.ac.th/web/static/.
Krupee. (2567). [ออนไลน์]. เกณฑ์การแปลผลที่เหมาะสมที่สุดของ Rating Scale. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567]. จาก https://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html.
พรปภัสสร ปริญชาญกล และคณะ. (2566). [ออนไลน์]. การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กรของบริษัท ไวท์ไลน์แอคทิเวชัน จำกัด โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเเบบ Simon Sinek’s Golden Circle. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. 94-105. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567]. จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/266087.
พรปภัสสร ปริญชาญกล และคณะ. (2564). [ออนไลน์]. การพัฒนาสื่อไวรัลวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารเซนต์จอห์น ปีที่ 24 ฉบับที่ 35.127-140. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567]. จาก https://sju.ac.th/pap_file/716c65468bf662f18db58236290f73e2.pdf.
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และคณะ. (2561). [ออนไลน์]. การพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกแบบมีปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคม เรื่อง กระบวนการทำงานข่าวโทรทัศน์บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน). วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 22. 26-36. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567]. จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/169636/122018.
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และคณะ. (2566). [ออนไลน์]. การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการในรูปแบบนิทรรศการออนไลน์โดยใช้ผู้นำเสนอเเบบอวทาร์ผ่านการเล่าเรื่องแบบ Three-Act Structure. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่่ 11 วันที่ 16 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. 287-294. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567]. จาก https://dusithost.dusit.ac.th/~juthawut_cha/download/Aucc2023-Paper-1.pdf.
ASOOK. (2567). [ออนไลน์]. การใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนรู้ดิจิตอลคอนเทนต์ (DIGITAL CONTENT). [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567]. จาก http://www.anantasook.com/digital-content-in-education.