การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องการคัดแยกชิ้นงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ Development and Optimization of Teaching Set on Workpiece Sorting using Automatic Control System

Main Article Content

สุนทร ก้องสินธุ
ณัฐวิชช์ สุขสง
พฤฒชวัชร ตลับทอง
ชายชัย แสงโพธิ์
สุริยา มณีโสภา
นฤมล ลครราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินคุณภาพและชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์ในการทำงานทางด้านระบบควบคุมอัตโนมัติไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระปริญญาโท จำนวน 15 คน และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี สาขาวิชาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test for dependent samples


ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสื่อการเรียนการสอนชุดทดลองเรื่องการคัดแยกชิ้นงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติโดยใช้ระบบเซอร์โวมอเตอร์ทำงานควบคู่กับระบบนิวเมติกส์และเขียนโปรแกรมควบคุมโดยอุปกรณ์ PLC จากการประเมินคุณภาพชุดการสอนของผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.27 ซึ่งมีความแตกต่างน้อย ผลการทดลองค่าความยากง่ายของชุดแบบทดสอบที่นำไปใช้กับนักศึกษากลุ่มทดลอง P = 0.52 ซึ่งอยู่ในระดับความยากง่ายพอเหมาะ ผลการหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ R = 0.64 ซึ่งถือว่าเป็นข้อสอบที่ดีพอสมควรอาจต้องปรับปรุงบ้าง และเมื่อนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนเปรียบเทียบคะแนนระหว่างเรียนกับหลังเรียน ซึ่งได้ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนเท่ากับ 90.50/82.62 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 แสดงว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังเรียนด้วยชุดการสอนนี้

Article Details

How to Cite
ก้องสินธุ ส., สุขสง ณ. ., ตลับทอง พ. ., แสงโพธิ์ ช. ., มณีโสภา ส. ., & ลครราช น. . (2024). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องการคัดแยกชิ้นงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ: Development and Optimization of Teaching Set on Workpiece Sorting using Automatic Control System. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 7(2), 215–229. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/276737
บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2560). ยุทธศาสตร์การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ. 2560 – 2564. กองบริหารข้อมูล. กระทรวงแรงงาน.

พลวุฒิ จตุราวิชานันท์. (2562). การคัดแยกของเสียอัตโนมัติในกระบวนการผลิตหัวอ่านเขียนด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอลและการจดจำรูปแบบ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณ์ โชติพันธ์ มหิดล สุรียพรรณ อิทธิเดช ชัยสิทธิ์ จรัส จุนเด็น และวรพงษ์ ภาราทอง. (2565). การสร้างชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอเตอร์ ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอลโทรลเลอร์. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. 125-130.

สนิท ขวัญเมือง. (2564). ชุดฝึกนิวแมติกส์ควบคุมด้วยไฟฟ้าและโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1. 53-63.

ณัฐวิชช์ สุขสง สุรินทร์ โกศลสมบัติ สมนึก ดำนุ้ย อนุชิต สิงห์จันทร์ และชาญชัย แสงโพธิ์. (2562). การหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่อง การควบคุมเซอร์โวนิวเมติกส์ ด้วย PLC. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 60-72.

กฤษฎ์ สกุลกวินกร. (2565). ระบบฝาแฝดดิจิทัลสำหรับอุปกรณ์คัดแยกวัตถุอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาระบบกายภาพที่เชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะวัฒน์ ศรีธรรม ณัฐพงศ์ บุหงา วีระชัย บุญเพิ่ม และสนอง ดีสม. (2564). เครื่องคัดแยกวัสดุอัตโนมัติในสายพานลำเลียงควบคุมด้วยระบบพีแอลซี. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. 49-59.