การพัฒนาแอปพลิเคชันระบุตำแหน่งสำหรับครอบครัว ด้วยวงจรการพัฒนาโปรแกรม -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันระบุตำแหน่งสำหรับครอบครัว โดยใช้วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Development Life Cycle) 2) ประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชัน 3) สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ และ 4) วิเคราะห์โมเดลธุรกิจโดยใช้เครื่องมือ Business Model Canvas กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 3 ท่าน และกลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน 30 คน ซึ่งสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินคุณภาพซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาน ISO/IEC 25010 แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันระบุตำแหน่งสำหรับครอบครัวถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา Flutter บน Android Studio สำหรับใช้งานบนสมาร์ตโฟนระบบ Android 2) คุณภาพของแอปพลิเคชันได้รับการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ค่าเฉลี่ย 4.57) 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) โดยเฉพาะด้านการออกแบบและการใช้งานที่สะดวกสบาย การตอบสนองที่รวดเร็วและข้อมูลที่ถูกต้อง 4) การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจตาม Business Model Canvas พบว่า Value Propositions คือ ราคาที่เหมาะสมและความสะดวกในการใช้งาน ส่วน Customer Segment ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับอนุบาล-มัธยมศึกษา Channels ที่ใช้ได้แก่ Facebook, Website และ Google Ads Key Partners ได้แก่ Play Store, Google และร้านขายเครื่องเขียน ส่วนแหล่งรายได้มาจากการดาวน์โหลดและอัปเดตแอปพลิเคชัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กีรติ หนึ่งละออง. (2555). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). http://kerati-nuallaong.
จุฑามณี รุ้งแก้ว. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับติดตามรับส่งนักเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2, 39-49.
ณัฏฐ์ ตั้งปรีชาพาณิชย์. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันระบบการติดตาม เส้นทางเดินรถโดยสาร แบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, 60-72.
ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ “Talanda Night Market” คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พัลลภา รุ่งเรืองวัฒนะชัย. (2565). การศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจบริการดูแลพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจ. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 7(2), 90 – 103.
สุทัศน์ รุ่งระวิวรรณ การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการบริหารบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3. 146-159.
อรยา ปรีชาพานิช. (2558). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.