รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Digital Era Teacher Competency Development Model under the Office of the Vocational Education Commission
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) ศึกษาตัวบ่งชี้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Selection) เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบ และยืนยันอีกครั้งจากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม นำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการพัฒนา 2) กระบวนการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย (1) สมรรถนะครูยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การแสวงหาข้อมูลทางสื่อดิจิทัลและการนำข้อมูลมาใช้งาน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ การสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลและการพัฒนานวัตกรรม การติดต่อสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ และจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนา และ 4) ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนา และตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบ มี 58 ตัวบ่งชี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). [ออนไลน์]. ร่างแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560 –2579. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.isoc5.net/infographics/view/115
สำนักนโยบายและแผนระดับชาติ. (2562). [ออนไลน์]. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2565]. จาก https://onde.go.th/view/1/
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2563.
นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2565). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วุฒิชัย กปิลกาญจน์. (2561). การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา.กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.