พลวัตของพิธีกรรม “เม-ด้ำ-เม-ผี” ของไทอาหม ภายใต้บริบททางสังคมการเมืองของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเพณีและพิธีกรรม “เม-ด้ำ-เม-ผี” ของชุมชนไทอาหมท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจการเมืองของรัฐอัสสัม และอินเดีย โดยระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม ภายใต้กรอบแนวคิดความเป็นชาติพันธุ์ (Ethnicity) และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnic Identity) ใช้การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก บรรดาผู้ประกอบพิธีกรรม ปราชญ์ (ผู้รู้) ผู้นำ/ตัวแทนชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทอาหม ในตอนบนของรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2561
“เม-ด้ำ-เม-ผี” เป็นพิธีกรรมตามประเพณีโบราณในการบูชาบรรพบุรุษของชาวไทอาหม ตั้งแต่รัชสมัยเจ้าหลวงเสือก่าฟ้า ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรไทอาหม ปรากฏบันทึกในเอกสารโบราณอาหมบุราณจี หรือพงศาวดารไทอาหมกล่าวถึงการประกอบพิธีกรรมนี้ของกษัตริย์ไทอาหมหลายยุคสมัย เพื่อแสดงการขอบคุณบรรพชนและเฉลิมฉลองชัยชนะหลังเสร็จศึกสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ปัจจุบันคนไทอาหมทั่วรัฐอัสสัมตอนบนประกอบพิธีกรรมนี้พร้อมกันในทุกวันที่ 31 มกราคม วันดังกล่าวรัฐอัสสัมประกาศให้เป็นวันหยุดราชการประจำปี จากการวิจัยพบว่า บทบาทของประเพณีและพิธีกรรมดั้งเดิมได้ปรับเปลี่ยน เกี่ยวข้องและบูรณาการกับขบวนการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของผู้นำและปัญญาชนไทอาหมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นในหลายองค์กร ซึ่งสะท้อนถึงการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์และสำนึกทางชาติพันธุ์ไทของคนไทอาหมร่วมสมัยท่ามกลางบริบทสังคมพหุชาติพันธุ์ของรัฐอัสสัมและภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
Article Details
ลิขสิทธิ์@ของวารสารมานุษยวิทยา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ, ประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/
References
ฉัตรทิพย์ นาถสุภาและเรณู วิชาศิลป์. 2552. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. 2547. “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษาในสังคมไทย”. ใน ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. (หน้า 1-126). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. 2547. “แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์”. ใน ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. (หน้า 191-286). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บก.). 2557. ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
บรรจบ พันธุเมธา. 2526. กาเลหม่านไต. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
นิติ ภวัครพันธุ์. 2559. ชวนถก ชาติ และชาติพันธุ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม ร่วมกับสมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม (สสมส. SASA).
สุมิตร ปิติพัฒน์ และดำรงพล อินทร์จันทร์. 2546. ขบวนการฟื้นฟูภาษา ความเชื่อ และพิธีกรรมของไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
รณี เลิศเลื่อมใส. 2544. ฟ้า- ขวัญ - เมือง จักรวาลทัศน์ดั้งเดิมของไท: ศึกษาจากคัมภีร์โบราณของไทอาหม. กรุงเทพฯ: โครงการวิถีทรรศน์.
เรณู วิชาศิลป์. 2532ก. “การทำนายกระดูกไก่ของคนไทยบางกลุ่ม”. ใน เอกสารประกอบการสัมนาเรื่องคนไทยนอกประเทศ: พรมแดนความรู้ จัดโดยสมาคมประวัติศาสตร์. (หน้า 97-98). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรณู วิชาศิลป์. 2532ข. “คำเรียกขวัญในพิธีราชาภิเษกเจ้าเสือเฮ็ดเปิงฟ้า”. ใน ภาษาจารึกฉบับคุรุรำลึก เนื่องในวาระเกษียณอายุราชการของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ. เสนีย์ วิลาวรรณ. (หน้า 115-137). ภาควิชาภาษาตะวันออก และชมรมรวมใจจารึก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เรณู วิชาศิลป์, ผู้ถ่ายทอดและแปล. 2539. พงศาวดารไทอาหม (Ahom Buranji) (เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
Phukan, J. N. 2527. “เทวดาและผีของชาวอาหม แง่มุมหนึ่งของความเชื่อของชาวไท (ไต)” [แปลโดย ปรานี วงษ์เทศ], เมืองโบราณ, 10(4): 84-90.
Barua, G. C. and Rai S., (transl. and eds.). 1985. Ahom-Buranji. (Reprinted: 1930). Guwahati: Spectrum Publication.
Baruah, S. 2001. India Against Itself: Assam and the Politics of Nationality. New Delhi: Oxford University Press.
Bordoloi, B. N. 1988. The Dimasa Kachari. Guwahati: Tribal Research Institute of Assam.
Buragohain, P. L. 1995. “Phralung and Ahom”. in The Tai. In Journal of Ban-Ok-Pup-Lik-Mioung-Tai, Purbanchal Tai Sahitya Sobha. Paper of International Seminar on Tai Studies, Guwahati, Assam, India February 7-10.
Buragohain, R. 2006. “Genesis and Significance of Me-Dam-Me-Phi: A Festival of the Tai-Ahom.” in Indian Journal of Tai studies. An International Journal devoted to the study of all aspects of the Tai of the World. VI: 67-72.
Gait, E. 1997. A History of Assam. 7th ed. (2nd edition. reprint 1926), Guwahati: Lawyer’s Book Stall.
Gogoi, P. 1976. Tai – Ahom Religion and Customs. Guwahati: Publication Board.
Gogoi, P. 1996. Tai of North-East India. Dhemaji: Chumpra Printers and Publishers.
Gohain, B. K. 2011. The Ahoms and their tradition. Vol. I-II. New Delhi-27: Omsons Publications Prakash House.
Grierson, G. A. 1973. Linguistic Survey of India. Vol.II. Delhi: Motilal Banarsidass.
Mahanta, N. G. 2008. What Makes Assam A Perpetual Conflict Zone? Going Beyond Management to Conflict Transformation. Guwahati: North Eastern Social Research Centre.
MaleŠevic, S. 2004. The Sociology of Ethnicity. London: Sage Publication.
Phukan, J. N. 1981. “Some Religious Rites and Ceremonies of The Tai-Ahoms: A Search for Ahomisation” in Lik Phan Tai Vol II. Journal of Tai Historical and Cultural Society Assam (Gauhati) India.
Phukon, G. (ed.). 1996. Ethnicity, Politics of Language and Reorganisation of States in North-East India. New Delhi: Omsons Publications.
Sabba, T. B. and Wouters, J. J. P. (eds.). 2013. “North-East India: Ethnography and politics of identity”. in Berger, P. and Heidemann, F. (eds.). The Modern Anthropology of India: Ethnography, themes and theory. (pp. 193-207). New York: Routledge.
Sarkar, J. 1915. “Assam and the Ahom in 1660 A.D.”, Journal of the Bihar and Orissa Research Society, 1: 179-195.
Singha, Y. M. 2016. “Ethnic Politics in Assam: Conflict and Accommodation”, International Journal of Scientific and Research Publications, 6(7): 494-499.
Singha, Y. M. 2016. “Ethnic Politics in Assam: Conflict and Accommodation”, International Journal of Scientific and Research Publications, 6(7): 494-499.
Tamimi, A. 2003. Religion and the Creation of Race and Ethnicity: An Introduction. in Prentiss, C. R. (ed.), New York and London: New York University Press.
Terwiel, B. J. 1972. The Tai of Assam and Ancient Tai Rituals. Vol. 1. Gaya: Review Office of South East Asian Studies.
Sangbun, Chao Lao khri. (Lakhi Prosad Boruah). 2015. Khek Lai Me-Dam-Me-Fii. [A book of traditional ritual text on Me-Dam-Me-Fii (an ancestral worship ceremony)]. Sibsagar: Assam Tao Council (Tao Mo Parishad).
Government of Assam. Map of Assam. Retrieved from https://assam.gov.in (February 14, 2018)
MeDamMePhi. Retrieved from https://www.facebook.com/169308353122359/photos/rpp.169308353122359/1454198674633314/?type=3&theater (February 14, 2018)
Baruah, Kushan. Jorhat, Assam, India. (January 30-31, 2018). Interview.
Borgohain, Golap, Secretary, All Assam Phralung Assoication, Sepon, Charaideo, Assam, India. (January 27, 2018). Interview.
Gogoi, Dhirendra Kumar. Secretary, Tai Ahom Sanskriti Sangrakshan Aru Sikhah Bikash Samiti (TAISSAB). Jorhat, Assam, India. (January 30-31, 2018). Interview.
Gogoi, Dhrubajit. Secretary, Tai Ahom Sanskriti Sangrakshan Aru Sikhah Bikash Samiti (TAISSAB). (January 30-31, 2018). Jorhat, Assam, India. Interview.
Hati Baruah, Sabeswar. Tai Ahom High Priest, Hati Baruah Gaon, Patsaku Mouza, SIbsagar, Assam, India. (January 23, 2018). Interview.
Konwar, Munindra. Secretary, Tai Ahom Sanskriti Sangrakshan Aru Sikhah Bikash Samiti (TAISSAB), Jorhat, Assam, India. (January 30 – February 2, 2018). Interview.