ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

คำพร มิ่งขวัญ
ระวีวรรณ กลิ่นหอม
ธนีนาฏ ณ สุนทร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติ พัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 57 คน และประชากรที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 10 คนเพราะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด 1. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (µ = 1.600, s = 0.611) 2. การนิเทศการศึกษา (µ = 1.600, s = 0. 567) และ 3. การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (µ = 1.597, s = 0.608)  แนวทางแก้ไขปัญหา  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ จัดให้มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน 2. ด้านการนิเทศการศึกษา  ควรจัดให้มีระบบการนิเทศที่ชัดเจน และ 3. ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา คือ ควรจัดให้มีงบประมาณสำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา และมีแผนการฝึกอบรมครูที่ชัดเจน     

Article Details

How to Cite
มิ่งขวัญ ค. . ., กลิ่นหอม ร. . ., & ณ สุนทร ธ. . (2023). ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. Journal of Modern Learning Development, 8(8), 267–279. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/261811
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

จิติมา วรรณศรี (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิตย์ธิดา จันดาสงค์ (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษาในกลุ่ม โรงเรียนบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ประภาพร แฝดสูงเนิน (2561). ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

โรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา. (2562). รายงานการประเมินตนเอง. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา. (2563). รายงานการประเมินตนเอง. เอกสารอัดสำเนา.

โรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา. (2564). รายงานการประเมินตนเอง. เอกสารอัดสำเนา.

รุ่งรัชชดาพร เวหะชาติ (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทรงศักดิ์ สิงหนสาย. (2556). การดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สํานักการศึกษา. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักการศึกษา.

Kerry, Rice. (2009). “Priorities in K-12 Distance Education : A Delphi Study Examining Multiple Perspectives on Policy, Practice and Research ,” Educational Technology & Society. 12 (3), 163-170.

Mark, Stansfield (2008). A Best Practices Fof School, Higher Education 12,4 October : 130-145.

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijs research. 2 (2), 49–60.