ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พิมพ์ชนก กระตุปัญญา
ภิรดา ชัยรัตน์
ศรีรัฐ โกวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการจัดการการเงินส่วนบุคคลกับปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคกับปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่มีภาระหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีปัจจัยการก่อภาระหนี้สินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ประเภทการเกษตร สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันมีปัจจัยการก่อภาระหนี้สินไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านการจัดการการเงินส่วนบุคคล ได้แก่ การวางแผนทางการเงินระยะสั้น และการวางแผนทางการเงินระยะยาว มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค ได้แก่ ด้านสิ่งกระตุ้น และด้านการตัดสินใจซื้อ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านความรู้สึกนึกคิด ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Article Details

How to Cite
กระตุปัญญา พ., ชัยรัตน์ . ภ. ., & โกวงศ์ ศ. . (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการก่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 250–265. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/247885
บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2563). รายงานต้นเงินกู้คงเหลือจำแนกตามโครงการ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (อัดสำเนา).

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2563). สารสนเทศข้อมูลลูกค้า. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (อัดสำเนา).

ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการเงิน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิรินภา โภคาพานิชย์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกร อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5 (ฉบับพิเศษ), 192-201.

สายชล งบครบุรี. (2560). ศึกษาผลกระทบจากภาระหนี้สินของเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). การศึกษาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรและขนาดของเงินกู้ที่เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุกานดา กลิ่นขจร และนรรัฐ รื่นกวี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษา อำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิททยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.