ความเต็มใจจะจ่ายค่าที่พักของผู้สูงอายุสำหรับโรงแรมที่ประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วิวัฒน์ ภัทรธีรกานต์
อมรวรรณ รังกูล

บทคัดย่อ

         การประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมในธุรกิจโรงแรมสำหรับผู้สูงอายุเป็นความพยายามในการสร้างความแตกต่างทางธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการให้บริการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณควบคู่กัน การวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการเข้าพักโรงแรมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาระดับความเต็มใจจะจ่ายต่อองค์ประกอบของโรงแรมตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และ 3) เพื่อศึกษาอัตราค่าที่พักที่ผู้สูงอายุเต็มใจจะจ่ายสำหรับโรงแรมที่ประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประสบการณ์การใช้บริการโรงแรมไม่น้อยกว่า 5 ปี ปีละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง จำนวน 400 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 50.2 เพศหญิง ร้อยละ 49.8 โดยมากมีอายุในช่วง 60-65 ปี มีสถานภาพสมรสเป็นหลัก การศึกษาในระดับปริญญาตรี ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ย 5,001-10,000 บาท/เดือน แหล่งที่มาของรายได้หลักจากเงินบำเหน็จ บำนาญ และประกันสังคม ความถี่ในการเข้าพักโรงแรมปีละ 1-3 ครั้ง ส่วนใหญ่เข้าพักพร้อมครอบครัวหรือบุตรหลาน วัตถุประสงค์หลักของการเข้าพักคือเพื่อเดินทางแสวงบุญ 2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเต็มใจจะจ่ายในระดับมากที่สุดสำหรับองค์ประกอบด้านการใช้งานทางร่างกายและด้านจิตใจอารมณ์และความรู้สึก เช่น เตียงนอนที่สามารถปรับระดับความสูงได้ อาหารและเครื่องดื่มที่มีความหลากหลายเหมาะสมกับวัย และการสร้างความรู้สึกผ่อนคลายสบายใจในการใช้บริการ เป็นต้น และมีความเต็มใจจะจ่ายในระดับมากสำหรับองค์ประกอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้านจิตวิญญาณ เช่น การจัดแบ่งโซนห้องพักสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ การสร้างบรรยากาศที่สงบแต่อบอุ่น และการให้ความสำคัญกับภูมิหลังที่มีเกียรติของผู้สูงอายุ เป็นต้น  3) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเต็มใจจะจ่ายค่าที่พักของโรงแรมที่ประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.89 เมื่อเทียบกับโรงแรมทั่วไป โดยเพิ่มขึ้นจากราคา 1,609.50 บาท/คืน เป็น 2,122.75บาท/คืน ผลการวิจัยที่ได้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกลงทุนพัฒนาองค์ประกอบของโรงแรมได้เหมาะสมกับความเต็มใจจะจ่ายของผู้สูงอายุ เช่น การเลือกใช้เตียงที่ปรับระดับได้ การบริการอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ การจัดแบ่งโซนห้องพักที่เหมาะสม และการให้บริการที่คำนึงถึงภูมิหลังและตัวตนเฉพาะตัวของผู้สูงอายุแต่ละราย เพื่อสร้างจุดเด่นในด้านการให้บริการที่ครบถ้วนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ เป็นจุดขายที่ช่วยสร้างความแตกต่างในตลาดโรงแรมสำหรับผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

How to Cite
ภัทรธีรกานต์ ว. ., & รังกูล อ. . (2023). ความเต็มใจจะจ่ายค่าที่พักของผู้สูงอายุสำหรับโรงแรมที่ประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 32–50. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/259546
บท
บทความวิจัย

References

Akarangkoon, P. (2019). Looking at the Future for Comprehensive Care for the Elderly. (In Thai). RMUTT Global Business and Economics Review, 14(2), 119-142.

Chuapung, B., Praditphonlert, N., Warusukhasiri, R., & Pooripakdee. (2018). Hotel Services Management for Thai Elderly Tourists Staying at PhraNakhonSi Ayutthaya Province. (In Thai). Journal of Information, 17(2), 71-84.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22 140, 55.

Lunkam, P. (2019). Business/Industry Outlook 2019-2021: Hotel Business [On-line]. Available: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Hotels/IO/Industry-Outlook-Hotels

Maopraman, N. & Pasunon, P. (2022). Factors Affecting the Decision to choose an Online Booking Service of Tourist Case Study of Phuket Sandbox. (In Thai). Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 4(1), 27-40.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.

National Statistical Office. (2011). The 2010 Accommodation Survey. (In Thai). Bangkok: Statistical Forecasting Division.

National Statistical Office. (2021). The 2020 Accommodation Survey. (In Thai). Bangkok: Statistical Forecasting Division.

Office of the National Economic and Social Development. (2020). Table of National Accounts 2563 [On-line]. Available: https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=12512&filename=ni_page

Pareto, V. (1964). Political Economy Course: Complete Works published under the direction of Giovanni Busino. Geneva: Droz bookstore.

Patpornwatcharasin, R. & Roonpho, P. (2017, August 7-9). The Behavior of the Elderly on Physically and Mentally Self-Caring in Amphoe Mueang, Pathum Thani Province. (In Thai). The 9th Rajamangala University of Technology National Conference (1502-1513). Pathum Thani.

Phonpiroon, P. & Sevatapukka, S. (2018). Tourism Multiplier and Income Distribution: Empirical Evidences from Hotel-Level Data in Thailand. (In Thai). ME Thesis (Business Economics), National Institute of Development Administration.

Plermkamon, C. & Thangchan, W. (2021, March 25). Hotel Context for the Elderly Tourists in the Northeast, the 22nd National Graduate Research Conference 2021 (293-299). Khon Kaen, Thailand. https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/22nd-ngrc-2021/HMO7/HMO7.pdf

Prommanee, P., Pitayavatanachai, Y., Tappha, J. (2020). Concepts of Satisfaction and Construction of Job Satisfaction Questionnaire. (In Thai). APHEIT Journal, 26(1), 59-66.

Rakmuncharoen, C. (2015). Factors which influencing the hotel and resort accommodation decision of Thai tourists in the area of conomic zone, Mae Sai, Chiang Rai. (In Thai). MA Independent Study (Business Administration). Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2: 49-60.

Royal Thai Embassy, Washington D.C. (2022). Visa: Thailand is world’s 4th most attractive destination [On-line]. Available: https://thaiembdc.org/2022/05/25/visa-thailand-is-worlds-4th-most-attractive-destination/

Samranrat, N. (2019). Tourism Promotion for Active Aging Tourist with Perceived Sense of Terra Incognita in Thailand. (In Thai). Ph.D. Thesis in Tourism Management, Naresuan University, Thailand.

Sekaran, U. and Bougie, R. (2016). Research Methods for Business: A Skill-Building Approach. 7th Edition, Wiley & Sons, West Sussex.

Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research Revised edition. 9th ed. (In Thai). Bankok: Suweerayasarn.

Thongsuk, T. (2020). Dietary Behavior of The Elderly on Era 4.0. (In Thai). Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 5(3), 232-244.

Tiraphat, S. (2020). The Survey of age-friendly environments to promote active aging and quality of life among the elderly: Case study of Japan, Malaysia, Myanmar, Vietnam, and Thailand. (In Thai). Bangkok: Thailand Research Fund.

Vanichbuncha, K. (2013). Statistical Analysis: Statistics for Administration and Research. (In Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wase, P. (2002). National Health Act: Thai Health Constitution Social Innovation Tool. Nonthaburi: National Health System Reform Office.

Yaemjamuang, B., & Chobtong, N. (2021). Hypothesis Testing Between Demography Characteristics and the Need of Elderly Tourists Towards Hotel Services in Chumporn Province. (In Thai). Journal of Innovation and Management, 6(1), 139-147.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

Yonwikai, W. (2019). Business Development Guidelines to Support Tourism Behaviours of Elders Travelling in Thailand. (In Thai). Dusit Thani College Journal, 13(2), 428-438.