ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน 2) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 161 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Stepwise โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = 0.87) 2) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.65) 3) ปัจจัยภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมทั้ง 5 ปัจจัย สามารถอภิปรายตัวแปรตาม คือ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยรวม ได้ร้อยละ 64.20 (R2 = 642) สามารถเขียนรูปสมการ คะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
Zr = 374X5 +.329X4 +.314X2
Article Details
References
กรมการปกครอง. (2542). หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท. 0311.2/2145 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2542.
กรมการปกครอง. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร: บี เค อินเตอร์ปริ้นท์.
กานต์ ฐิตะฐาน. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ ผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบล
ท่าขอนยาง อำเภอวากันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. (2564). รายงานประจำปี 2564. มหาสารคาม: สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นิรันดร์วลี กองเผือก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของกำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ และคณะ. (2552). การศึกษาพฤติกรรมและเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในกลุ่ม เยาวชน แม่บ้าน และคนงานในโรงงาน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ.
พสุ เดชะรินทร์. (2551). หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิชันพริ้น แอนด์มีเดีย.
สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.
สมชาติ สมรักษ์. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลสงยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส. เอเชียเพรส จำกัด.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2540) “ภาวะผู้นำ” ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. หน่วยที่ 5. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อชิรญาณ์ จันทรพิมพ์. (2552). การดำเนินงานตามบทบาทของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อำเภอวาปีปทุม. (2565). สรุปรายงายประจำปีของอำเภอวาปีปทุม 2564. (เอกสารอัดสำเนา).
Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3 rd ed). New York : Harper & Row.