เทคนิควิธีการในการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพัฒนาตนเอง

Main Article Content

ณัฐภรณ์ พรรณศรี

บทคัดย่อ

          การพัฒนาตนเองมีเป้าหมายสูงสุดที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และทัศนคติให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเองและหน่วยงาน ดังนั้นการพัฒนาตนเอง เป็นการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาตนเองจะเป็นกระบวนการที่จะพัฒนารูปร่างของตนเอง การพัฒนาให้ตนเองมีการพูดจาน่าเชื่อถือ และการพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้พร้อมที่จะศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองเสมอ ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเอง ได้แก่ ยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ความต้องการของ Murray ความต้องการพัฒนาตนเองของ Boydell และการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura องค์ประกอบของการพัฒนาตนเอง ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้เรียนที่มีลักษณะชี้นำตนเอง การให้ความรู้โดยการชี้นำตนเอง และปัจจัยในทางสังคม ความสำคัญของการพัฒนาตนเอง ได้แก่ การรู้จักตนเองตามความเป็นจริง เตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น และวางแนวทางที่จะพัฒนาชีวิตนำไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาการ และการพัฒนาจิตใจ จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตนเอง ได้แก่ เพื่อให้บุคคลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเอง เพื่อให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อเป็นการวางแนวทางในการที่จะพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมาย และเพื่อเป็นการให้โอกาสที่บุคคลจะได้ทบทวนความรู้สึกและความต้องการของตนเอง วิธีการพัฒนาตนเอง ได้แก่ การให้การศึกษาอย่างเป็นทางการ การประเมินตนเอง การพัฒนาบุคลากรผ่านประสบการณ์ในงาน และการพัฒนาผ่านทักษะสัมพันธ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือ การแสดงความสนใจ การติดตามความรู้ใหม่ในสาขาอาชีพของตนหรือที่เกี่ยวข้อง การมีความรู้ในวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาอาชีพของตน สามารถนำความรู้วิทยาการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ในองค์การตนเอง การศึกษาพัฒนาตนเองให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในงานมากขึ้น ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนการทำงานของคนในส่วนราชการที่เน้นความเชี่ยวชาญในวิทยาการด้านต่าง ๆ
          องค์ความรู้ การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนั้น องค์ประกอบด้วย ได้แก่ แนวทางการพัฒนาตนเอง ทางด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาการ และด้านจิตใจ วิธีการพัฒนาตนเอง ได้จาก การศึกษาอย่างเป็นทางการ การประเมินตนเอง และประสบการณ์จากการทำงาน โดยมีแนวคิดทฤษฎีเข้ามารองรับการพัฒนาตนเอง ได้แก่ ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ทฤษฎีความต้องการของ Murray ทฤษฎีความต้องการพัฒนาตนเองของ Boydell และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura มาประกอบกันจนเป็น การพัฒนาตนเอง ส่งผลให้เกิดคความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ ความรู้เชิงวิชาการ ความเชี่ยวชาญเชิงวิชาชีพ และความรู้ด้านเทคโนโลยี
          สรุปโดยย่อ การพัฒนาตนเอง เป็นการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะใน เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาตนเองเป็นกระบวนการพัฒนารูปร่างของตนเอง ให้ตนเองมีการพูดจาที่ดี และการพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะศึกษาหาความรู้ การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาการ และการพัฒนาจิตใจ ส่วนความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือ ความสนใจ การมีความรู้ในวิชาการและเทคโนโลยี ใน มาปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ พัฒนาตนเองให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในงานมากขึ้น ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
พรรณศรี ณ. . (2025). เทคนิควิธีการในการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพัฒนาตนเอง. Journal of Modern Learning Development, 10(1), 1–22. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/281077
บท
บทความวิชาการ

References

คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมการบ่งชี้. (2567). คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมการบ่งชี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568. แหล่งที่มา: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglcle findmkaj/http://www.correct.go.th/infosaraban/letter/filepdf/1524212002.pdf.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2549). การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้บริหาร. กรุงเพพมหานคร: พิมพ์ทอง.

ณฐกร วัชรสินธุ์. (2562). สมรรถนะ : การพัฒนาตนเองของพนักงานรักษาความปลอดภัยก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (2), 253-264.

ธนภรณ์ ตั้งเพชรศิริพงษ์. (2565). การพัฒนาตนเองตามหลักโยนิโสมนสิการ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 7 (1), 264-278.

บุษยมาศ แสงเงิน. (2567). การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/437581.

ปราณี รามสูตร และจำรัส ด้วงสุวรรณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎธนบุรี.

ปราณี รามสูตร. (2548). จิตวิทยาในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชธนบุรี.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2564). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัชจันทรเกษม.

เรียม ศรีทอง. (2548). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาการ : ศาสตร์แห่งการพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2568). ผู้เชี่ยวชาญ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/.

วินัย เพชรช่วย. (2561). การพัฒนาตนเอง Self-Development. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568. แหล่งที่มา: http//www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Self_Development. htm.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์.

สมิต อาชวนิจกูล. (2556). การวิเคราะห์เอกสารเรื่องการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

สุชาติ เด่นประเสริฐ. (2556). การพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรินทร์ บู่สาลี. (2545). การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครูโรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2556). คู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัมพิกา ไกรฤทธิ์. (2553). มนุษยสัมพันธ์ในโรงงาน. กรุงเทพมหานคร: เอส ดีเพรส.

เอกชัย บุญอาจ. (2552). การพัฒนาตน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568. แหล่งที่มา: https://www.gotoKnow.org/posts/364938.

Brockettand, Ralph, G. and Roger Hiemstra. (2005). Self-directed adult learning. New York: Chapman and Hall.