รูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อตรวจสอบรูปแบบการวัดองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวชี้วัดรูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง จำนวน 295 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.องค์ประกอบหลักของรูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 องค์ประกอบหลัก วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรมองค์การ และองค์ประกอบย่อย 10 องค์ประกอบ คือ เน้นการบูรณาการ มุ่งผลสัมฤทธิ์งาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การคิดเชิงกลยุทธ์ แก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ สื่อสารและเจรจาต่อรอง สร้างแรงจูงใจและแรงขับเคลื่อน การจัดการเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เน้นการตลาด และตัวชี้วัดจำนวน 59 ตัวชี้วัด
2.การตรวจสอบรูปแบบรูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวชี้วัดรูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากค่าทางสถิติ (Chi - square = 30.415, ค่า df = 27, ค่า P = 0.296, ค่า CFI = 0.997, NFI = 0.973, RMR = 0.022, RMSEA = 0.021 ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดเป็นองค์ประกอบที่สามารถใช้วัดการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อย่างเที่ยงตรงและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3ผลการยืนยันรูปแบบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญยืนยันรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไปในทิศทางบวกในด้านความเหมาะสมของรูปแบบและรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า มีมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ 4.58 ระดับมากที่สุด มีมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ 4.52 ระดับมากที่สุด มีมาตรฐานด้านความถูกต้อง 4.41 ระดับมาก และมีมาตรฐานด้านความเหมาะสม 4.29 ระดับมาก
Article Details
References
กฤษณา สุขบุญญสถิต. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2555). แนวโน้มยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏรุ่นใหม่ในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี: กลไกสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน. เอกสารวิจัย (รป.ม.). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2545). กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
บุญทัน ดอกไธสง. (2555). รัฐประศาสนศาสตร์สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2559). การประชุมอธิการบดีราชภัฏ ครั้งที่ 2/2559. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร. บัณฑิตวิทยาลัย: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริภัทร ดุษฎีวิวัฒน์. (2555). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร:อมรินทร์.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33 (128), 49-65.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือปฏิบัติงานการวางแผนอัตรากำลังทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. นนทบุรี: โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Adair, John Eric. (2010). Strategic leadership: How to think and plan strategically and provide direction. London: KoganPage.
DuBrin, Andrew J. (2010). Principles of leadership. (6 th ed). Canada: South-Western Cengage Learning International Student Edition.
Ekvall, Goran. (2002). Organizational conditions and levels of creativity In Managing innovation and change. (2nd ed). London: Thousand Oaks Calif: Open University Business School in association with SAGE.
Greenberg, Jerald. (2005). Managing Behavior in Organizations. (4th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Guan, J., & Ma, N. (2003). Innovative capability and export performance of Chinese firms. Tec novation, 23(9), 737-747.
Hair, J.F. et al. (2006). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
L. Yuvares, L. (2016). Corrupt problems in the Thai education system. APHEIT JOURNAL. 5(1), 66-76.
Potter-Efron, Ronald T. (2005). Handbook of anger management: group, individual, couple, and family approaches.Binghamton. N.Y. :Haworth Clinical Practice.