แนวทางการเพิ่มขึ้นของการดื่มนมโคสดพร้อมดื่มขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

จอมพรรณ มารอด
ช่อ วายุภักตร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคนมโคสดพร้อมดื่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เสนอแนวทางการเพิ่มขึ้นของการดื่มนมโคสดพร้อมดื่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 380 ราย การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบการสุ่มแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดทำแนวทางการตลาด
        ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริโภค พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ดื่มนมรสจืดธรรมชาติ โดยดื่มสัปดาห์ละ 3 ถึง 4 ครั้ง เหตุผลที่บริโภคนมโคสดพร้อมดื่มเนื่องจากมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคนมโคสดพร้อมดื่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลระดับมากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา มีอิทธิพลระดับมาก ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลระดับปานกลางและได้เสนอแนวทางการเพิ่มขึ้นของการดื่มนมโคสดพร้อมดื่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 การปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ โครงการที่ 2 การปรับปรุงเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ นิ่มนวล. (2557). การตัดสินใจซื้อนมพร้อมดื่มจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคในเขตเทศบาล จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556) วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และคณะ (2562). พฤติกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ระดับ พรีเมี่ยม กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11 (1), 54-65.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). คนไทยดื่มนมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา https://today.line.me/th/articleคนไทยดื่มนม+18+ลิตร+ปี+ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-m1aR3m

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2559). ยุทธศาสตร์พัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมปี 2560-2569 ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา : http://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-17/policy/strategic_02.pdf

สิริมาพร ลีพรหมรัตน. (2557). ความพอใจต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีของผู้บริโภคในเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24 (2), 103-123.

อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). จำนวนประชากรแยกตามอายุ. เพชรบูรณ์: ที่ทำการอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์.

Sekaran, U., and Bougie, R. (2013). Research Methods for Business: A Skill Building Approach. (6th ed). Hoboken, NJ: John Wiley and Sons.

Walangitan et al. (2018). Analysis of Marketing Mix’s Factors on Purchasing Decision of UHT (Ultra High Temprature) Milk in Hypermart Manado Town Square City of Manado, North Sulawesi Province - Indonesia. Journal of Business and Management, 19(8), 64-70.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.