รัฐสวัสดิการตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ใครบุตร
ภัทรพล เสริมทรง

บทคัดย่อ

        รัฐสวัสดิการเป็นรูปแบบหนึ่งที่ถือว่า รัฐบาลมีหน้าที่ในการจัดหาสวัสดิการต่าง ๆ แก่ประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สิ่งที่รัฐสวัสดิการจัดหาให้แก่ประชาชน มักจะเกี่ยวกับเรื่องปากท้อง เรื่องความเป็นอยู่ เช่น การให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การจัดบริการสวัสดิการสังคมให้แก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยชราที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการดูแลไม่เหมาะสม การช่วยเหลือในยามว่างงาน การให้การรักษาพยาบาลฟรี และการให้การดูแลเลี้ยงดูในยามชรา การบริการฟรีต่าง ๆ อย่างไรก็ตามยังมีโครงการอื่นๆ ที่รัฐมักจะจัดการให้สำหรับประชาชน เช่น การประกันค่าแรงขั้นต่ำ การกำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับแรงงานเด็ก การพยุงราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอื่น ๆ การจัดหาบ้านพักอาศัยราคาต่ำและการให้บริการทางการศึกษาในระดับต่าง ๆ แก่ประชาชน เป็นต้น โดยสรุป รัฐสวัสดิการ คือ การที่รัฐบาลจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับความอยู่ดีกินดีของประชาชน ในทรรศนะของนักเศรษฐศาสตร์กับของพระพุทธศาสนาอาจจะไม่เหมือนกัน ตามหลักเศรษฐศาสตร์ รัฐสวัสดิการเน้นเกี่ยวกับการใช้นโยบายเพื่อจัดสรรทรัพยากรของสังคม ซึ่งมีอยู่จำกัดให้ได้ผลดีที่สุด แต่รัฐสวัสดิการตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาคือ การทำให้ประชาชนในรัฐอยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้นักเศรษฐศาสตร์จึงมุ่งไปที่การใช้ปัจจัยการผลิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนพระพุทธศาสนามุ่งไปที่ความอยู่ดีกินดี มีความสุข มีความพอเพียง และประชาชนต้องประกอบด้วยศีลธรรม

Article Details

How to Cite
ใครบุตร ท. . ., & เสริมทรง ภ. . (2020). รัฐสวัสดิการตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 317–332. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/245318
บท
บทความวิชาการ

References

กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์, แปล. (2562). รัฐสวัสดิการกับสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สยามปริทัศน์.

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2548). นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จินดา จันทร์แก้ว. (2543). ปรัชญาสังคมแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก). (2549). อธิบายธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.