แนวทางการปรับตัวการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์เขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ 3. เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการปรับตัวการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และศึกษาภาคสนามจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
การบริโภคปัจจัย 4 พระพุทธเจ้าได้ตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ได้พิจารณาการบริโภคปัจจัย 4 เพียงเพื่อให้เกิดการบริโภคตรงตามเป้าหมายที่แท้จริง เช่น การบริโภคเครื่องนุ่งห่มก็ใช้สอยเพื่อปกปิดร่างกายไม่ใช่เพื่อตกแต่งเป็นเครื่องประดับ การบริโภคอาหารก็รู้ว่าบริโภคเพื่อยังอัตภาพร่างกายให้ดำรงอยู่ได้ บรรเทาความหิวเก่า ป้องกันความหิวใหม่เพื่อที่จะได้มีกำลังในการสร้างคุณความดี การบริโภคที่อยู่อาศัยก็ใช้สอยเพื่อบำบัดความหนาวความร้อนและป้องกันอันตรายจากสัตว์และฤดูกาล ส่วนยารักษาโรคก็ใช้เพียงเพื่อบำบัดเวทนาอาพาธต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์จึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ปัญหาการบริโภคปัจจัย 4 เป็นการบริโภคตามกระแสค่านิยม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกินความจำเป็นของตนเอง หลงตามกระแส จนทำให้เกิดมีพฤติกรรมการเลียนแบบด้วยความหลง ทำให้เกิดผลกระทบตามมา เช่น จากการบริโภคอาหารก็คือ เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ การเสพที่เกินความจำเป็นการเสพด้วยความลุ่มหลง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สิน สุขภาพ และสติปัญญา เกิดผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
แนวทางการปรับตัวการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ บริโภค กิน เสพ เคี้ยว ดื่ม ใช้สอย โดยนัยหมายถึงปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช หรือผ้า อาหาร บ้าน ยา ข้อวัตรปฏิบัติตามวิถีธรรมไม่ควรบริโภคปัจจัยเพื่อแสดงสัญลักษณ์ทางสังคม และการบริโภคนิยมตามแบบอย่างโฆษณา จุดมุ่งหมายที่สำคัญการบริโภค คือ ข้อวัตรปฏิบัติตามวิถีพุทธประกอบด้วย การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักกาล ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปรับตัวการบริโภคปัจจัย
Article Details
References
พระครูอาทรวนกิจ (อนาลโย/ฉันทสิริกุล). (2557). การศึกพัฒนาการใช้สอยผ้าจีวรของพระสงฆ์.สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอาทรวนกิจ (อนาลโย/ฉันทสิริกุล).(2558). การใช้สอยผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐศาสตร์ในจังหัดอุดรธานี.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552).พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
พระพุทธโฆสาจารย์. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชธรรมนิเทศ(ระแบบ ฐิตญาโณ). (2534). มองเขา มองเรา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: พรศิวการพิมพ์.
พระสมุห์สุรางค์สุจิณฺโณ (จันทร์งาม). (2553). สมชีวิตากับการแก้ปัญหาบริโภคนิยมในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัฒน์ สุจำนง. (2533). สังคมกับปัญหาสภาวะแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พุทธทาสภิกขุ.(2549). ขุมทรัพย์จากพระโอฏฐ์ (ฉบับคู่มือพุทธบริษัท).(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บุพนิมิต,
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
สุวรรณา สถาอานันท์. (2541). เงินกับศาสนาเทพยุทธแห่งยุคสมัย.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สุวิบูลย์ จำรูญศิริ.(2556). แนวทางการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาในประเทศไทย.พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.