เหตุผลของการไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของจำเลยในเขตอำนาจศาลแขวงขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาเหตุผลของการไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของจำเลยในเขตอำนาจศาลแขวงขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร และวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน จำแนกเป็น เจ้าหน้าที่ กยศ. จำนวน 5 คน และประชาชนที่เป็นลูกหนี้ของ กยศ. จำนวน 5 คน โดยใช้เทคนิควิธีการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า เหตุผลของการไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของจำเลยในเขตอำนาจศาลแขวงขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประกอบไปด้วย 12 ประการ คือ 1. ลูกหนี้มองว่าภาครัฐจะยกหนี้ให้ คิดว่ารัฐจะไม่ทวงหนี้ หรือไม่ต้องชำระหนี้ก็ได้ 2. มีวัฒนธรรมที่ผิด คิดว่าผู้ใดจ่ายเงินคืน กยศ. คือ คนโง่ 3. คิดว่าดอกเบี้ยถูกน้อยจะชำระเมื่อไหร่ก็ได้ 4. บางคนมีภาระหนี้สินอื่นหลายอย่าง 5. คิดว่าการชำระหนี้ กยศ. มีระยะเวลานานจะชำระตอนไหนก็ได้ 6. ผลักภาระหนี้สินให้เป็นของคนค้ำประกัน 7. ยังไม่มีงานทำที่มั่นคง 8. บางคนเมื่อทำสัญญาแล้วไม่ได้เรียนจนสำเร็จการศึกษา เรียนไม่จบ 9. บางคนรอประนอมหนี้ 10. ไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ 11. กระบวนการทวงถามหนี้ของ กยศ. และ 12. กยศ. ไม่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน
Article Details
References
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ และเป้าหมาย. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา www.studentloan.or.th/th/aboutus/1539000635
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
ณัฐวิน อัศวภูวดล. (2559). ปัญหาการใช้คืนเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2541. Journal of nakhonratchasima college, 10(1), 135-144.
บีแอลทีแบงค็อก. (2560). พ.ร.บ. หนี้ กยศ. ไม่จ่ายไม่ได้แล้ว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา www.bltbangkok.com/news/4179/
ผู้จัดการออนไลน์. (2551). กยศ.ร่วมศาลแขวงขอนแก่น ไกล่เกลี่ยลูกหนี้ค้างชำระกว่า 5,400 ราย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา mgronline.com/local/detail/9510000151421
พงษ์พันธุ์ พลเยี่ยม (2543). การติดตามการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2541. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจิตรา ทินพนาสวัสดิ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้คืนเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุดท้าย ชัยจันทึก. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของภาครัฐ ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 14(65). 173-192.
เสกสรรค์ บุญรอด. (2553). การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.
พระนคร, 4(2), 27-39
อมรา ติรศรีวัฒน์. (2559). การผิดนัดชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางในการแก้ไข. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 121-144.
Ratchagit, T. (2019). การศึกษา (Education) สำคัญอย่างไรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190625-education-for-hrd/
Thaiquote. (2559). ผุดมาตรการสร้างแรงจูงใจใช้หนี้คืนกู้ยืม “กยศ.”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา www.thaiquote.org/content/200966