การศึกษาอัตลักษณ์ของลวดลายประดับธรรมาสน์ กรณีวัดพระแท่น ศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายประดับธรรมมาสน์ : วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์” ศึกษา 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ศึกษาสภาพโดยรวมของธรรมาสน์ตามหลักการทางด้านศิลปะไทย ส่วนที่ 2 การศึกษารายละเอียด รูปแบบและขนาดตลอดจนลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของลวดลายประดับธรรมาสน์ที่ปรากฏในส่วนประกอบหลักต่าง ๆ พื้นที่ในการวิจัย คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า ลวดลายประดับธรรมาสน์ดังกล่าวซึ่งเป็นศิลปะในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้น มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เด่นไม่มีที่ไหนเหมือน ประกอบด้วยลายที่ไม่ซ้ำกันเลย โดยสามารถแบ่งเป็น ลายกนก (กระหนก) และลายกระจัง ตลอดจนสามารถแบ่งกลุ่มลายที่เป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจน คือ ลวดลายทุกลายมีลักษณะลายที่ไม่เหมือนและไม่ซ้ำกัน ลวดลายหลายลายมีลักษณะพิเศษที่มีการนำรูปร่างของ คน เทวดา สัตว์ ยักษ์ เข้ามาประกอบเป็นตัวลายได้อย่างวิจิตร งดงาม
Article Details
References
ชนัญญ์ เมฆหมอก. (2561). ธรรมาสน์ “เมืองเพชร” : พลวัตของวัฒนธรรมงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 11 (1). 139 – 168.
นิยม วงศ์พงศ์คำ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชุมชนกับงานแกะสลักธรรมาสน์ในภาคอีสาน. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กระทวงวัฒนธรรม.
ปฏิพัทธ์ ดาระดาษ. (2538). ลายไทย ภาพไทย 1. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ. ลีฟวิ่ง.