กระบวนการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอีสาน : ศึกษากรณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

พระมหาสังคม ชยานนฺโท

บทคัดย่อ

        การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและกระบวนการอนุรักษ์ประเพณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและการเปลี่ยนแปลงประเพณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง 3) เพื่อสืบสานการอนุรักษ์ประเพณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง ซึ่งเป็นกระบวนการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอีสานในรูปแบบประเพณีบุญแห่กระธูป
        ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเพณีบุญกระธูปของชาวอำเภอหนองบัวแดง จะทำก่อนวันออกพรรษา 3 วัน เพื่อเป็นพุทธบูชา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ดังนั้น ชุมชนอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จึงได้จัดงานประเพณีบุญแห่กระธูป ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้บรรจุงานประเพณีบุญแห่กระธูปออกพรรษา ในปฏิทินเป็นงานประจำปีของจังหวัดชัยภูมิ 2. การอนุรักษ์ประเพณีบุญแห่กระธูปเริ่มแรกเฉพาะชุมชนที่ปฏิบัติมา ตอนนี้เกือบทุกหมู่บ้านที่ทำลักษณะเดียวกัน คือ การนำเอกลักษณ์หรือวัตถุประสงค์นำมาเผยแพร่ คนในชุมชนเห็นไปในทิศทางเดียวกัน การให้คงอยู่ให้รู้จักในวงกว้าง ดังนั้น หน่วยราชการจะเข้ามาดูแลเรื่องสถานที่ สภาพแวดล้อมของพื้นที่จัดงาน ทุกท้องถิ่นช่วยเหลือกันให้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สร้างเครือข่ายเชิญชวนนักท่องเที่ยว 3) การอนุรักษ์สืบสานประเพณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง เป็นเรื่องของการฝึกฝนให้กลุ่มเยาวชนได้เห็นถึงคุณค่าของจารีตประเพณีที่ปู่-ย่า ตา-ยาย ได้ร่วมด้วยช่วยกันในการสืบสานประเพณีบุญแห่กระธูป เพื่อให้ลูกหลานได้อนุรักษ์เป็นมรดกของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง และเกิดคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชนอำเภอหนองบัวแดง

Article Details

How to Cite
ชยานนฺโท พ. . (2020). กระบวนการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอีสาน : ศึกษากรณีบุญแห่กระธูปของชุมชนอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 160–174. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/245980
บท
บทความวิจัย

References

ซอง อิล ฮัน. (2547). ศึกษาประเพณีสงกรานต์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ศศ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดนัย โชยโยธา. (2536). พื้นฐานทางสังคมวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

นิคม มูสิกะคามะ. (2545). วัฒนธรรม:บทบาทใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.