การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

กริช เกียรติญาณ
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีความแตกต่างต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร คือ ประชาชนที่อายุตั้งแต่ 40 - 59 ปี จำนวน 6,125 คน โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และone way anova และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
          1. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 3.558 , S.D. = .400)
          2. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีความแตกต่างต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยที่มีความแตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
          3. แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พบว่า 1) ด้านสุขภาพร่างกาย ควรมีการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการละเว้นอบายมุข 2) ด้านการเงินและทรัพย์สิน ควรมีการเก็บเงินออม ลดค่าใช้จ่าย และจัดการภาระหนี้สิ้นก่อนการเกษียณ 3) ด้านที่อยู่อาศัย การปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และ 4) ด้านการทำงานหลังเกษียณ ลดภาระหน้าที่การงานของผู้สูงอายุ และหางานทำให้เหมาะสมกับวัย

Article Details

How to Cite
เกียรติญาณ ก., & โรจนตระกูล ธ. . (2021). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 59–74. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/247278
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). ปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: shorturl.at/lEOS9.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตร และคณะ. (2550). สุขภาพคนไทย 2550. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : มหาวิทยาลัยมหิดล

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 29 (3), 131-143.

นันทนา วงค์วัฒนาเสถียร. (2545). ความพร้อมของผู้นำชุมชนในการจัดตั้งศูนย์เอนกประสงค์ สำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2561). ระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: shorturl.at/rHQUX.

ยุวัลดา ชูรักษ์. (2562). การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. 12 - 13 กรกฎาคม 2562.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สำนักวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วรชัย สิงหฤกษ์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์ (2560). การเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุงานของเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด : การศึกษาแบบสร้างทฤษฏีฐานราก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 7 (2), 118-133.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: shorturl.at/vFKT9.

สุมารี โพธิ์งาม. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการเตรียมความพร้อมในระบบรับและโอนเงินพร้อมเพย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายมูล อำเภอวังทรายมูล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

สุวิทย์ ขจรกล่ำ. (2557). การศึกษาการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุทุมพร วานิชคาม. (2562). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 25 (1), 164-179.