การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประชาสัมพันธ์ 2) การเข้าร่วมกิจกรรม และ 3) การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 309 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .951 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประชาสัมพันธ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 ; S.D. = 0.50) 2) การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.29 ; S.D. = 0.36) 3) การประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยตัวแปรอิสระ 1 ตัว ที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ได้แก่ ด้านสื่อที่ใช้ ส่วนตัวแปรอิสระ ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านรูปแบบประชาสัมพันธ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .678 (R = .678) ตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ .459 (R2= .459) สมการปรับปรุง ด้วยวิธี Stepwise คือ Z = .676 Z2
Article Details
References
กังสดาร แตงน้อย. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา. 4, 51-59.
กฤษฎา มงคลศรี. (2556). แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2563). รายงานประเมินตนเอง. มหาสารคาม: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จตุพร จันทร์เพชร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ชัญญนิษฐ์ เลิศทัศนวงศ์. (2558). ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของ นักศึกษาสถา บันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (2558). คู่มือระเบียบการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2558). การเข้าร่วมกิจกรรมการการเรียนรู้แบบบูณาการและการออกใบระเบียนกิจกรรม (Activities Transcript). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันทพล พันธุเดช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุง เทพ. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและ เอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญยงค์ บุญฟัก. (2552). การศึกษาความต้องการในการจัดกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษา วิทยาลัยพละ ศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรสวรรค์ สาธร. (2550). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีมหาวิทยาลัยรัตน บัณฑิต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการ ภัตตาคาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
พรทิพย์ มั่งคั่ง. (2550 ). ความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรณัฐ ถ้าทองถวิล และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมนักศึกษาของ วิทยาลัยราชพฤกษ์. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยราชพฤกษ์.