การพัฒนาผลงานการออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย

Main Article Content

ชลัคร์กมล ภวภัชชกุล
สิรินธร สินจินดาวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการจัดการเรียนรู้ของนักออกแบบ ด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย 2) จัดทำหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย สำหรับนักออกแบบ และ 3) ประเมินผลงานการออกโลโก้ของนักออกแบบตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบด้วยศาสตร์ของฮวงจุ้ย จำนวน 4 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักออกแบบอิสระ จำนวน 45 คน การวิจัยครั้งนี้มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้มือวิจัย คือ 1) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย 3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม และ 4) แบบประเมินการออกแบบโลโก้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการการจัดการเรียนรู้ของนักออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ ของฮวงจุ้ย ปัจจัยด้านการพัฒนาหลักสูตร ปัจจัยด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย และปัจจัยด้าน ผลงานการออกแบบของนักออกแบบเป็นไปตามความต้องการของนักออกแบบ ทั้ง 3 ด้าน 2) ผลการตรวจสอบหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับนักออกแบบ ประกอบด้วย การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร การเลือกประสบการณ์การฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.41, S.D.= 0.47) 3) นักออกแบบที่เข้าร่วมหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยมีผลประเมินความรู้ความเข้าใจ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมการออกแบบด้วยศาสตร์ของฮวงจุ้ยมีพัฒนาการและทักษะเพิ่มขึ้น และ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก (= 4.46, S.D.= 0.49) และ 4) นักออกแบบ จำนวน 45 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวน 41 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 74.55 จากเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ. (2557). ฮวงจุ้ยเพื่อที่อยู่อาศัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ภัทรา ธีรกุล. (2559). ศาสตร์ฮวงจุ้ยกับการจัดการชุดองค์ความรู้เพื่อการสื่อสารในสื่อใหม่ (เว็บไซต์) ของธนาคารกสิกรไทย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสริมจิตวิทยาการออกแบบ ผสานศาสตร์ฮวงจุ้ย. (2562). เสริมจิตวิทยาการออกแบบผสานศาสตร์ฮวงจุ้ย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.ryt9.com

อาวิน อินทรังษี. (2553). สี กับการออกแบบอัตลักษณ์. วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 3 (3), 47-58.

โอภาส เกาไสยาภรณ์. (2560). การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฮวงจุ้ยกับงานออกแบบ. (2564). ฮวงจุ้ยกับงานออกแบบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. แหล่งที่มา: https://cadsondemak.com

Tyler Ralph W. (1949). Basic Principia of Curriculum and Instruction. Chicago: the University of Chicago press.