การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอมตัวยาวกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

จอมขวัญ ภาสดา
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอมตัวยาว และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กับการสอนแบบปกติ ประชากรที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง  จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอมตัวยาว แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีสอนแบบปกติ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาว แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test แบบ independent[1]
           ผลการวิจัย พบว่า
          1. หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอมตัวยาว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 75/75 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพ 83.35 / 82.83ซึ่งป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
          2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอม ตัวยาว กับการสอนแบบปกติ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


 

Article Details

How to Cite
ภาสดา จ. . ., & สรรพกิจจำนง ก. (2022). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดครอบครัวมิสเตอร์กล้วยหอมตัวยาวกับการสอนแบบปกติ . Journal of Modern Learning Development, 7(2), 19–30. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/253433
บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ หาญชุก. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง อสมการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ (คณิตศาสตรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ขวัญฤทัย พิสัยสวสด. (2558). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนเรื่องคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์. (เทคโนโลยีการศึกษา). บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.