รูปแบบการจัดการวนเกษตร ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นโมเดลต้นแบบของชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาพื้นที่วนเกษตร บ้านโฮม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยการจัดการวนเกษตร (2) ปัจจัยสร้างความสำเร็จ (3) ปัจจัยความเสี่ยงหรือล้มเหลว (4) วัตถุประสงค์วนเกษตร หลักการและองค์ประกอบ (5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ของวนเกษตรและหลักการและองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (6) สร้างรูปแบบการจัดการวนเกษตร โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 18 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง ข้อมูลวิเคราะห์ใช้วิธีการพรรณนาความ อธิบายและอภิปรายผลการวิจัย และวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 344 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยการจัดการวนเกษตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.68 (2) ปัจจัยสร้างความสำเร็จ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.72 (3) ปัจจัยความเสี่ยงหรือล้มเหลว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.30 (4) วัตถุประสงค์วนเกษตร หลักการและองค์ประกอบ ได้แก่ เพื่อต้องการช่วยแก้ปัญหาความยากจน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 (5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ของวนเกษตร และหลักการและองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบเข้าสมการตามลำดับ ดังนี้ ด้านการจัดการวนเกษตร จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยความมุ่งมั่นของคน ปัจจัยความเข้าใจใน Concept ปัจจัยน้ำ ปัจจัยการวางแผนในการเพาะปลูก ด้านสร้างความสำเร็จ จำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยแรงบันดาลใจ ปัจจัยต้นทุน ปัจจัยการรวมกลุ่มกัน ปัจจัยความอดทน ปัจจัยความรู้ และด้านความเสี่ยงหรือล้มเหลว (XRisk) จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยภัยพิบัติ (6) สร้างรูปแบบการจัดการวนเกษตร ประกอบด้วย ปัจจัยความมุ่งมั่น ของคน ปัจจัยความเข้าใจใน Concept ปัจจัยน้ำ ปัจจัยการวางแผนในการเพาะปลูก ปัจจัยแรงบันดาลใจ ปัจจัยต้นทุน ปัจจัยการรวมกลุ่มกัน ปัจจัยความอดทน ปัจจัยความรู้ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยภัยพิบัติ
Article Details
References
ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
พระชยานันทมุนี และคณะ. (2561). หมู่บ้านพุทธเกษตร : รูปแบบการจัดการป่าและการส่งเสริมสัมมาชีพของเกษตรกรวิถีพุทธสู่ความยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดน่าน. รายงานการวิจัย. อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ หังสนาวิน. (2557). คู่มือการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.
วัชรินทร์ สุทธิศัย และสิทธิพรร์ สุนทร. (2563). การวิจัยและวิทยานิพนธ์ทางสังคมศาสตร์. เอกสารประกอบการสอน หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิชุตตา ชูศรีวาส. (2559). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น : สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
ศุภชัย ยาวะประภาษ (2548). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุภาพร ปาแก้ว. (2553). การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบวนเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม. (2546). การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอนก ดีพรมกุล. (2560). การเปรียบเทียบภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างการทำสวนวนเกษตรกับสวนผลไม้ผลเชิงเดี่ยว : กรณีศึกษาสวนลองกองในบ้านขุนห้วย ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.