ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เป็นนักท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งได้จากการคำนวณด้วยสูตรของ Yamane สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง Stepwise และข้อเสนอแนะผู้วิจัยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ และพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมทั้ง 3 ปัจจัย เรียงลำดับการเข้าสู่สมการตามความสัมพันธ์ คือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านการคมนาคม และปัจจัยด้านรายได้ สามารถร่วมกันอธิบายตัวแปรตาม คือ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้ร้อยละ 28.70 มีค่า (R2 = .287) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α .05 และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ควรปรับภูมิทัศน์ภายในแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม สะอาด เรียบร้อยอยู่เสมอ ควรมีการนำเอาเอกลักษณ์ ความโดดเด่น ทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่มาใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว มีระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก ควรมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายและต่อเนื่อง
Article Details
References
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2546). การจัดการการท่องเที่ยววัฒนธรรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพลสแอนด์ดีไซด์จำกัด.
ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อ นักท่องเที่ยวไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: วิทยาลัยนวัตกรรม.
พรทิพย์ พิมลสินธ์. (2540). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: ประกายพฤก.
พิพิธภัณฑ์สิรินธร. (2559). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.sdm.dmr.go. th/website/index.php
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิควิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วไลลักษณ์ น้อยพยัค. (2559). นวัตกรรมการท่องเที่ยว. จุลสารวิชาการอิเลคทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดใหม่: Marketing management (ฉบับปรับปรุงปี 2552). กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business world.
สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2561-2565 (ทบทวนแผนปี 2563). กาฬสินธุ์.
สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา (2559). โครงการทิศทางการพัฒนาท่องเที่ยวของประเทศไทยในระยะ 10 ปี. กรุงเทพมหานคร:.บริษัท เอฟฟินิตี้ จำกัด.
สำรวย เมฆวราวุฒิ. (2550). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาตลาดน้ำตลิ่งชัน. กรุงเทพมหานคร.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์.
อดุล จตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
อารยา อันคชสาร. (2554). การประเมินศักยภาพของตลาดน้ำวัดกลางภูเวียงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุไร มากคณา. (2564). ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://maewmakkana.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
อุษณีย์ ศรีภูมิ. (2544). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวทัศนศึกษาในเขตฐานทัพเรือสัตหีบ.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
McIntosh R. W., & Gupta, S. (1980). Tourism: Principles, practices, philosophies. Columbus, OH: Grid.
Taro Yamane. (1973). Statistics:An Introdutory Analysis. New York: Haper and Row.