ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและกลยุทธ์การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA 2) ศึกษาการใช้กลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 36 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนในการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวมีการสอบก่อนและสอบหลัง (the one-group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบสอบถามกลยุทธ์การอ่าน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใช้กลยุทธ์การอ่านหลังจากการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. เล่ม 1. หน้า 1-2.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์กรเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิจจา กำแหง. (2554). ยุทธวิธีในการอ่านกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านภาษาที่สอง. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1 (2), 97-104.
ชม ภูมิภาค. (2528). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่ 1-5. สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อแความเข้าใจภาษาอังกฤษโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น่านฟ้า จันทะพรม. (2549). การใช้กลยุทธ์ผังมโนทัศน์สัมพันธ์สร้างแนวคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนอ สงวนแก้ว และ วิสาข์ จัติวัตร์. (2554). รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2 (2), 69-81.
พิชญาภา อินธิแสง. (2558). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ทักษะการคิด วิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนสระยายโสมวิทยา. (2562). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ.
วนัชภรณ์ ปึ่งพรม. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19 (3), 356-369.
วิภาดา พลูศกดิ์วรสาร และวิสาข์ จัติวัตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสาหรับผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (2), 151-166.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://niets.or.th
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://niets.or.th
สุภิญญา ยีหมัดอะหลี. (10, พฤษภาคม, 2556). ผลการใช้วิธีสอนแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุวรรณี ศิริพิทักษ์ชัย. (2559). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง Happiness PCP School ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 2, วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 6 (2), 27-36.
อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Anderson, N. (1999). Exploring Second Language Reading: Issues and strategies. Heinle and Heinle Publisher.
Auerbach, E. R., & Paxton, D. (1997). It’s not the English thing: Bringing reading researchinto the ESL classroom. TESOL Quarterly, 31 (2), 237-261.
Dowhower, S. L. (1999). Supporting strategic stance in the classroom: A comprehension framework for helping teachers help students to be strategic. The Reading Teacher.
Gersten, R., Fuch, L. S., & Williams, P. (2001). Teaching reading comprehension strategies
to students with learning disabilities: A review of research. Review of Education Research, 71 (2), 279-320.
Kinoshita, Y. (2008). Foreign Direct Investment and Structural Reforms: Panek Evidence from Eastern Europe and Latin America EFL Students’ Learning for Communication. TESOL Quarterly, 19 (1), 167-168.
Marksub, V. (2012). Development of Science Learning Packages for Secondary
Students by Utilizing the Ekkamai Science Center for Education [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University.
Murdoch, G. S. (1986). A More Integrated Approach to the Teaching of Reading. English Teaching. Forum, 34 (1). 9-15.