อิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

Main Article Content

มินธิตา วรสินธ์พันธ์
พรทิวา แสงเขียว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่อกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2563 รวมระยะเวลาทั้งหมด 3 ปี จำนวน 93 บริษัท  เป็นประชากรทั้งหมด โดยไม่ได้มีการสุ่มตัวอย่างประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบบันทึกข้อมูลในการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินแบบรายปี จากเว็บไซต์ www.setsmart.com สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ตัวแปรตามได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และกำไรในอนาคต คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์
          ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์พบว่า อัตราส่วนสภาพคล่อง ประกอบด้วย อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ ระยะเวลาเก็บหนี้ อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ไม่มีผลกระทบกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ย กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อกำไรสุทธิ ไม่มีผลกระทบกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05        2) อิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่อกำไรในอนาคตพบว่า อัตราส่วนสภาพคล่อง ประกอบด้วย อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ ระยะเวลาเก็บหนี้ อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ไม่มีผลกระทบกับกำไรในอนาคต ในขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่อง นั่นก็คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว มีผลกระทบเชิงบวกกับกำไรในอนาคต และอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อกำไรสุทธิ ไม่มีผลกระทบกับกำไรในอนาคต ในขณะที่อัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน นั่นก็คือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยมีผลกระทบเชิงบวกกับกำไรในอนาคต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
วรสินธ์พันธ์ ม., & แสงเขียว พ. . . (2022). อิทธิพลของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. Journal of Modern Learning Development, 7(10), 148–161. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/257202
บท
บทความวิจัย

References

ธาราทิพย์ สิริจินดา (2554) . ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิตสาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพติญา มณีบุตร และคณะ. (2563). ผลกระทบของอัตราส่วนสภาพคล่องอัตราส่วนสินทรัพย์และอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผล การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

นิสาชล คำสิงห์. (2560:46). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทกลุ่ม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2561-2563). ระบบ SETSMART ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.setsmart.com/ ssm/login.

วนิชา เลิศพิริยสุวัฒน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชยพล วงศ์เตชะ (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไร บริษัทจดทะบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 1-12.

เพ็ญนิภา พรหมโคตร และคณะ. (2560). กระแสเงินสด ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1 (3), 35-50.

แก้วมณี อุทิรัมย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนที่คาดหมายของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม