การวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ช่วยให้พวกผู้บริโภคตัดสินซื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการใช้สื่อผสมหลากหลายช่องทางเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อสมัยใหม่และเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีจำนวนทั้งสิ้น 324 ราย โดยเก็บตัวอย่างแบบเจาะจงตามลำดับรายชื่อ เครื่องมือที่ใชในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปทุมธานี
ผลการวิจัยจากวัตถุประสงค์พบว่าค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ที่หลากหลายมีความสำคัญมากที่สุด รองลงไปคือการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ และการจัดกิจกรรมการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยพบว่าดัชนีวัดความสอดคล้องมีเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square =0.00, df=0, P-value=0.000, RMSEA=0.009)
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการต้องพัฒนานวัตกรรมการตลาดใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน เช่น นวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย ช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความ ไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/ bitstream/123 456789/1709/1/59602711.pdf
โพส ทูเดย์ (Post Today). (2563). กลยุทธ์ 4C เพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา: กลยุทธ์ 4C เพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง, 2544.
สมบูรณ์ ภุมรนทร์. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคณค่าตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ข้าวสารบรรจุถุง ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564 แหล่งที่มา http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2352/1/somboon.phum.pdf
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธ์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 สำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย. 15 1, 94-108.
Armstrong & Kotler. (2007). Principle of marketing. 12ed. São Paulo: Pearson Prentice Hall, 2007.
Gunday, Gurhan. et., al. (2011). Effect of Innovation Types on Firm Performance. International Journal Production Economics. 133, 662-676.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper, Saddle River, NJ: Pearson Education, International.
Nuryakin, et al. (2018). Mediating effect of value creation in the relationship between relational capabilities on business performance. Contaduría y Administración, 63 (1), 2018, 1-21.