การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย สำหรับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน

Main Article Content

กมลวรรณ เลิศสุวรรณ
วราภรณ์ ไทยมา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา และหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียวิชาการสนทนาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน 2) ออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก วิชาการสนทนาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียน และหลังเรียนจากการใช้สื่อมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบแผนการทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย Hainan Tropical Ocean University จำนวน 50 คน ซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน 2) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/ E2 และสถิติ t-test
          ผลวิจัยพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.67/81.98 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน มีประสิทธิภาพมีผลรวมการพิจารณาคุณภาพระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.29) 3) จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนจากการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน ผลการวิเคราะห์พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกวาก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

How to Cite
เลิศสุวรรณ ก. . ., & ไทยมา ว. . (2022). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย สำหรับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 223–239. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/258026
บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7-20.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2550).การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย สหพงษ์. (2563) เรื่อง ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”. 7 (2), 7-14.

พิมพ์วรรณ มุสิกรัตน์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำราชาศัพท์ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนตรี ดีโนนโพธิ์. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนแบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคสมศาสตร์. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัญญา เสนสม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ประโยคเพื่อการสื่อสาร วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสต์มหาบัญฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model.. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/addie_ design_ sumai.pdf.

เอกชน มั่นปาน. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วรรณคดี เรื่องสังข์ทอง. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.