การจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์
พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบผลนี้ ศึกษาการจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยและเปรียบเทียบการจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่ โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 190 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่กรกฎาคม ถึง ธันวาคม 2564 เครื่องมือ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่ของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีค่าความตรงตามเนื้อหา .97 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .98 วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่า 95%CI  One-way ANOVA และ Scheffe
           ผลการวิจัยพบว่า การจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.55, 95%CI = 3.99 - 4.15) 2) ระหว่างโรงพยาบาล แต่ละระดับมีอย่างน้อย 2 แห่ง ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4.57,  p = .011)  3) การสร้างแนวร่วมในการเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลทั่วไป กับโรงพยาบาลชุมชน (p = .027) โรงพยาบาลชุมชน กับโรงพยาบาลศูนย์ (p = .003) การสื่อสารวิสัยทัศน์พบความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลทั่วไป กับโรงพยาบาลชุมชน (p = .030) โรงพยาบาลชุมชน กับโรงพยาบาลศูนย์ (p = .001) และการสร้างเป้าหมายระยะสั้นและให้รางวัลต่อความสำเร็จ พบความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลชุมชน กับโรงพยาบาลศูนย์ (p = .036) วิจัยนี้นำไปเป็นข้อมูลเพื่อการส่งเสริมบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติงานด้านการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่ได้

Article Details

How to Cite
พงศ์ภาณุพัฒน์ ธ. . ., & บุญสวัสดิ์กุลชัย พ. . . (2023). การจัดการการเปลี่ยนแปลงหอผู้ป่วยวิถีใหม่โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 447–460. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/258261
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://ddcportal.ddc. moph.go.th/portal/apps/ opsdashboard/ index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานสนับสนุนข้อมูลสุขภาพ. (2563). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://phdb.moph.go.th/main/index/site/16

กาญชนา สถิรพงศ์กุล. (2563). หัวหน้าหอผู้ป่วย NICU โรงพยาบาลชัยภูมิ. สัมภาษณ์. วันที่ 25 มิถุนายน 2563.

ขวัญใจ ภูมิเขต, มุกดา หนุ่ยศรี และวรรณภา ประไพพานิช. (2562). ประสบการณ์ความสำเร็จในการบริหารงานของหัวหน้าหน่วยงานทางการพยาบาล โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลตำรวจ. 11 (1), 35-46.

จุติมา เบ็ญอ้าดัม, ประภาพร ชูกำเนิด และปราโมทย์ ทองสุข. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการนำของหัวหน้าหอผู้ป่วยและการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปลอดภัยของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 40 (2), 35-51.

โรงพยาบาลแก้งคร้อ. (2563). ประกาศแนวปฏิบัติเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มาhttp://www.kaengkhro.go.th/wordpress/

วงจันทร์ เดชทองทิพย์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 3 (1), 38-45.

ศศิธร วงษาลาภ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สมจิตร์ จำปาแดง. (2563). หัวหน้ากลุ่มงานพยาบาลควบคุมและป้องกันโรคติกเชื้อ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. สัมภาษณ์. วันที่ 26 มิถุนายน 2563.

สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ และสัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). ตัวแบบการบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 8 (1), 185-193.

สุห้วง พันธ์ถาวรวงศ์, นงนุช บุญยัง และปราโมทย์ ทองสุข. (2558). การสานวิสัยทัศน์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและกระบวนการยอมรับวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 35 (3), 141-156.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และทิพยรัตน์ แก้วศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรโรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 7 (1), 40-54.

Hajizadeh, A., Zamanzadeh, V., Kakemam, E., Bahreini, R. & Khodayari-Zarnaq, R. (2021). Factors influencing nurses participation in the health policy-making process: a systematic review. BMC Nurse. 20 (1), 1-9.

Kotter, J., P. Leading Change. (1996). Harvard Business Review. Boston: MA.