การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ5R กับวิธีการสอนแบบปกติ

Main Article Content

พิเชษฐ์ กอนรัมย์
วาสนา ยอมิน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ5R กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ5R 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กับวิธีการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 64 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน คือ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เป็นกลุ่มทดลอง และ  (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 เป็นกลุ่มควบคุม สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้การทดสอบค่า t-test
           ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ5R  มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในรายวิชาภาษาไทยสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ5R มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในรายวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
กอนรัมย์ พ. ., & ยอมิน ว. . (2023). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ SQ5R กับวิธีการสอนแบบปกติ. Journal of Modern Learning Development, 8(2), 126–137. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/260272
บท
บทความวิจัย

References

เกศรินทร์ หาญดารงค์รักษ. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอน.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การ สอนภาษาไทย). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

ขันธ์ชัย อธิเกียรติ. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย Learning Activities in Thai Teaching. (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตติกานต์ คำมะสอน. (2558). การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ5R ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ถนอมจิตร สังข์จรูญ. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนด้วยวิธี เอส.คิว.ไฟว์. อาร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ เป็นภาษานานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชรินทร์ สุริยวงค์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริม ความสามารถทางการอ่าน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20 (1), 27.

ว.วชิรเมธี. (2552). สั่งให้อ่านหรือสร้างแรงบันดาลใจให้รักการอ่าน. เนชั่นสุดสัปดาห์. 18 (905), 56-57.

สุจิตรา จรจิตร. (2557, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ของไทย. วารสารสงขลานครินทร์. 9 (1), 45.

Harris, Larry Allen; & Smith, Carl Bernard. (1986). Reading Instruction. New York: Macmillan.