แบบจำลองความตั้งใจในการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้

Main Article Content

ปวีณ์นุช สุขุมาลวิวัฒน์
บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการยอมรับการบริโภคจิ้งหรีดในสาธารณรัฐเกาหลี 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความตั้งใจในการยอมรับการบริโภคจิ้งหรีดในสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ในกรุงโซลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
         ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองความตั้งใจในการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้ ได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม อิทธิพลจากกลุ่มบุคคลอ้างอิง อิทธิพลจากโซเซียลมีเดีย การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความกลัวอาหารที่มีความแปลกใหม่ และความตั้งใจในการยอมรับการบริโภคจิ้งหรีด 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบจำลองความตั้งใจในการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้ พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน โดยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม อิทธิพลจาก    กลุ่มบุคคลอ้างอิง อิทธิพลจากโซเซียลมีเดีย และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจในการยอมรับการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความกลัวอาหารที่มีความแปลกใหม่ มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อความตั้งใจในการยอมรับการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
สุขุมาลวิวัฒน์ ป. ., & ลีเจ้ยวะระ บ. . (2023). แบบจำลองความตั้งใจในการบริโภคจิ้งหรีดในเกาหลีใต้. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 264–279. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/260853
บท
บทความวิจัย

References

วันวิสาข์ มงคล และบุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ (2564). องค์ประกอบของการยอมรับโปรตีนจิ้งหรีดในออสเตรเลีย. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 6 (2), 208-222.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 50, 179-211.

Brekelmans, A. (2016). Determinants of Insect Consumption and an Investigation of its Place among other Alternative Protein Sources in the Netherlands. Master of Science Thesis in Applied Communication Science. Department of Social Sciences: Wageningen University.

Chang, H.P., Ma, C.C. and Chen, H.S. (2019). Climate Change and Consumer’s Attitude toward Insect Food. International Journal of Environmental Research and Public Health. 16, 1606.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.

Han, R., Shin, T.J., Kim, J., Choi, Y. and Kim, Y. (2017). An overview of the South Korean edible insect food industry: challenges and future pricing/promotion strategies. Retrieved November 10, 2021, from https://onlinelibrary.wiley. com/doi/10.1111/

-5967.12230

Kohl, A. (2016). Business Potential of Insect Food Studying the attitudes towards edible insects among young adults. Retrieved June 17, 2019, from https://www.theseus.fi/bitstream/

handle/10024/115146/Kohl_Alexander.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

Koreaboo. (2558). 11 อาหารท้องถิ่นของคนเกาหลีที่คุณอาจไม่กล้ากิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.daradaily.com/news/47535/read

Kotler, P., Kartajaya, H. and Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0 : Moving from Traditional to Digital. New York: John Wiley & Sons.

Lacey, R. (2016). CRICKETS AS FOOD: The perceptions of and barriers to entomophagy and the potential for widespread incorporation of cricket flour in American diets. Retrieved June 17, 2021, from https://sites.lsa. umich.edu/sustainablefoodsystems2/

wpcontent/uploads/sites/546/2016/05/Rachael-Lacey_Thesis.pdf

Legendre, T.S. and Baker, M. (2021). Legitimizing Edible Insects for Human Consumption: The Impacts of Trust, Risk–Benefit, and Purchase Activism. Journal of Hospitality and Tourism Research, 20 (1), 1-23.

Liu, A.J., Li, J. and Gómez, M.I. (2020). Factors Influencing Consumption of Edible Insects for Chinese Consumers. Insects, 11, 10. doi:10.3390/insects11010010

Lucchese-Cheunga, T., De Aguiar, L.K., Silva, R.F.F. and Pereiraa, M.W. (2020). Determinants of the Intention to Consume Edible Insects in Brazil. Journal of Food Products Marketing, 26 (4), 297-316.

Pambo, K.O., Mbeche, R.M., Okello, J.J., Mose, G.N., and Kinyuru, J.N. (2018). Intentions to consume foods from edible insects and the prospects for transforming the ubiquitous biomass into food. Agriculture and Human Values, 35, 885-898.

Reilly, S. (2018). Food Neophobia: Behavioral and Biological Influences (Woodhead Publishing Series in Food Science, Technology and Nutrition). Cambridge: Woodhead Publishing.

Sekaran, U. & Bougie, R. (2016). Research Methods for Business. 7th ed. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Sogari, G., Menozzi, D. and Mora, C. (2018). The food neophobia scale and young adults’ intention to eat insect products. International Journal of Consumer Studies, 43, 68-76.

Wilkinson, K., Muhlhausler, B., Motley, C., Crump, A., Bray, H. and Ankeny, R. (2018) Australian Consumers’ Awareness and Acceptance of Insects as Food. Retrieved July 14, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC6023301/