ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

เฉลิมชัย โทบุดดี
อุไรรัตน์ แย้มชุติ
นภวรรณ แย้มชุติ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าทดสอบที (t-test for Dependent Samples)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ รองลงมา คือ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ รองลงมา คือ ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สารสนเทศเพื่อการรายงาน 3) ผลการเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
โทบุดดี เ. . ., แย้มชุติ อ. ., & แย้มชุติ น. . . (2023). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 35–50. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/260970
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ นาตัน. (2552). สภาพการดำเนินงานและความคาดหวังในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของโรงเรียนในฝันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2563). พันธกิจในการพัฒนาการศึกษาโดยการส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษา. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สินธะวา คามดิษฐ์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). ข้อมูลสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

กัลยา กิตยวัฒน์. (2561). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากร. (2561). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากร,โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์.

นายสมบัติ พิมพ์จันทร์. (2561). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์.